เป็นประวัติเมืองพร้าว เผื่อใครยังไม่เคยอ่าน
ประวัติเมืองพร้าว เมืองตึ๋ก เมืองตั๋น
พุทธศักราช 1823 พญามังราย ผู้ครงนครหิรัญนครเงินยาง (จังหวัดเชียงราย) ได้ยกทัพไพร่พลมุ่งสู่เมืองหริภุญไชยหรือลำพูน เดินทัพมา ถึงที่แห่งหนึ่งซึ่งเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมตามตำราพิชัยสงคราม มีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ จึงได้หยุดทัพและตั้งค่ายคู ประตูหอรบอย่างมั่นคง แข็งแรงบนสันดอยแห่งหนึ่งชื่อเวียงหวาย และขนานนามว่า "นครป่าว" หรือ "นครแจ้สัก" หรือ "เมืองป้าววังหิน" ป้าวมาจากคำว่าป่าวร้องกะเกณฑ์ ไพร่พลภาษาถิ่นหมายถึงมะพร้าว เพราะมีลักษณะภูมิประเทศมีภูเขาล้อมรอบกลมเหมือนลูกมะพร้าว ขณะนั้นเมืองยังสร้างไม่เสร็จ พญามังรายทรงยก ทัพสู่เมืองหริภุญไชย เลียบฝั่งแม่ปิงพบชัยภูมิที่เหมาะสมอีกแห่งหนึ่ง แต่ก็ได้เคลื่อนทัพเข้าโจมตีหริภุญไชยนครจะได้รับชัยชนะแล้วจึงหวนกลับมายัง ที่ ราบชัยภูมิที่พบริมฝั่งแม่ปิง เกณฑ์ไพร่พลสร้างเมืองขึ้นใหม่ และขนานนามว่า "นครพิงค์" สร้างหลังเมืองป้าว 15 ปี (ประมาณ พ.ศ.1838) และพญามังราย ทรงเสด็จมาครงเมืองนครพิงค์ที่สร้างขึ้นใหม่และขนานนามว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์" และทรงให้ขุนเครือราชโอรสองค์ที่ 3 ไปครองเมืองป้าว ขุนเครือได้ บูรณะและสร้างต่อเติมเมืองป้าววังหิน (เวียงที่กล่าวนี้อยู่ที่วัดพระเจ้าล้านทอง ถือว่าเป็นศูนย์กลางเวียง) และขนานนามว่า "นครป้าว"
ต่อมาได้ถูกพญา มังรายลงทัณฑ์เกี่ยวกับการกระทำกาเมสุมิจฉาจารกับพี่สะใภ้ จึงถูกเนรเทศไปอยู่เมืองปายในจังหวัดแม่ฮ่องสอน (ปัจจุบัน) หลังจากนั้นนครป้าวจึงลด ลงมาเป็นเมืองลูกหลวง เวลาต่อมากษัตริย์ผู้ครองนครล้านนาไทยไม่มีราชบุตร ก็ส่งขุนนางคนสนิทไปครองเมืองแทน จนกระทั่งสมัยพระเจ้าฝั่งแกน (พ.ศ.1954-1958) พระองค์ส่งเจ้าลูกราชบุตรองค์ที่ 6 หรือพญาติโลกราชหรือพญาติโลกราชมหาราช ไปครองเมืองพร้าว นับว่าเป็นองค์สุดท้ายที่ครอง เมืองพร้าว นับแต่สร้างเมืองพร้าวมา พ.ศ.1823 ถึงปัจจุบัน พ.ศ.2542 มีอายุ 718 ปี
การปกครองสมัยนั้นเรียกหัวเมืองเป็นแขวง คือ แขวงเมืองพร้าว ผู้ดำรงตำแหน่งนายแขวงคนแรกชื่อ นายจันทร์ (ไม่ทราบนามสกุล) มีนาย แขวงปกครองติดต่อมาจนถึงสมัย ขุนชำนินรการซึ่งเป็นนายแขวงคนสุดท้ายในปี พ.ศ.2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยเปลี่ยนจากแขวงมา เป็นอำเภอ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบริหารราชการจนถึงทุกวันนี้
อำเภอพร้าวอยู่ห่างจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ประมาณ 115 กิโลเมตร เนื่องจากอำเภอพร้าวเคยเป็นเมืองลูกหลวงของเมืองเชียงใหม่ดังนั้นจึงพบ ประตูเมือง แจ่งเมือง ที่มีชื่อตรงกันกับแจ่งเมือง ประตูเมืองของเมืองเชียงใหม่ และยังพบร่องรอยของคูคันดินล้อมรอบเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีวัดร้างใน เขตอำเภอพร้าวร่วม70 วัด ทั้งที่ยังปรากฏหลักฐานที่เป็นเจดีย์และหลักฐานในเอกสารโบราณซึ่งปรากฏแหล่ง ที่ตั้งชัดเจน
อำเภอพร้าวมีโบราณสถานที่สำคัญ คือวัดถ้ำดอกคำ วัดธรรมเจดีย์นิมิตร วัดดอยแม่ปั๋ง โดยเฉพาะวัดดอยแม่ปั๋งซึ่งเคยเป็นที่อยู่ของหลวง ปู่แหวน สุจิณฺโณ พระอริยสงฆ์ที่ชาวเชียงใหม่นับถือ
|