พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
อู้ได้ซะป๊ะเรื่อง

“เถราภิเษก พิธียอยกสมณศักดิ์พระสงฆ์ในล้านนา”

   
 

 


การสัมมนาวิชาการเรื่อง
“เถราภิเษก พิธียอยกสมณศักดิ์พระสงฆ์ในล้านนา”

             งานจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม  พ.ศ. ๒๕๕๓  เวลา ๐๘.๓๐ น.  ณ  ห้องประชุมธรรมปัญญาบดี  อาคาร ๑  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย  วิทยาเขตเชียงใหม่  วัดสวนดอก
           โดยมีพระวิทยากรคือ  พระมหาสง่า  ธีรสํวโร  สาขาวิชาศาสนา-ปรัชญา  จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตเชียงใหม่  และพระมหาชัชวาล  โชติธมฺโม  เจ้าอาวาสวัดราชมณเฑียร ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่  เป็นพระวิทยากร บรรยายให้ความรู้ ความเข้าใจ การเถราภิเษก  พิธียอยกสมณศักดิ์พระสงฆ์ในล้านนา





บทความบางตอนในการยอยกเรื่อง "ครูบา"  โดย...พระมหาสง่า ธีรสํวโร


"ครูบา" เนื้อนาบุญของล้านนา 
            ตามความเป็นจริงเกี่ยวกับเรื่องของ  คำเรียกขานพระสงฆ์ว่า "ครูบา"  คำว่า "ครูบา" เป็นภาษาบาลี มาจากคำว่า "ครุปิ อาจาริโย" แปลว่า เป็นทั้งครูและอาจารย์  มาจากคำว่า "ครุปา"  ภายหลังเพี้ยนเป็น "ครูบา" ในที่สุด เป็นคำที่พบว่า ใช้กันเฉพาะในกลุ่มวัฒนธรรมล้านนาเท่านั้น เป็นตำแหน่งของพระสงฆ์ ผู้ที่ได้รับการพิจารณา เลือกสรรแล้ว ว่ามีศีลาจารวัตรเรียบร้อย มั่นคงอยู่ในพระธรรมวินัย เป็นที่ยอมรับทั้งในส่วนของคณะสงฆ์ และฆราวาส ศรัทธาประชาชนทั่วไป   หรือ มีผลงานปรากฏแก่ชุมชน ในการก่อสร้างบูรณปฏิสังขรณ์ สร้างวัดวาอาราม เช่น ครูบาอภัยสารทะ(ครูบาหลวง วัดฝายหิน) ครูบาศรีวิชัย   ครูบาขาวปี ครูบาบุญชุ่ม เป็นต้น   หรือมีคุณสมบัติพิเศษอื่น ๆ ในการทำงานเพื่อพระศาสนา หรือเป็นที่พึ่งของประชาชน เช่น ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง อ.แม่แตง เป็นหมอยาแผนโบราณ  ครูบากัญจนะ เมืองแพร่ เชี่ยวชาญเรื่องการจาร รวบรวมคัมภีร์ใบลาน
           ครูบา จึงเป็นคำนำหน้าเฉพาะพระสงฆ์ รูปนั้น ๆ  ซึ่งพระภิกษุทั่วๆ ไปไม่มีสิทธิ์ใช้ หรือแต่งตั้งตัวเองเป็นครูบา  ในระยะเวลาไม่เกิน ๑๐ ปีมานี้ ในเขตภาคเหนือตอนบนกลับปรากฏว่า มีพระภิกษุหนุ่ม ๆ พรรษายังไม่พ้นนิสัยมุตตกะ( ๓ พรรษา) ได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นครูบากันอย่างแพร่หลาย
           ส่วนใหญ่ก็ยึดเอาครูบาศรีวิชัยเป็นต้นแบบ ทั้งการนุ่งห่ม ถือไม้เท้า ห้อยลูกประคำ ถือพัดขนหางนกยูง  ไปทางไหนก็เจอแต่ครูบา ผู้มีจริยาวัตรนำมาซึ่งความศรัทธาเลื่อมใสก็มาก นำมาซึ่งความสับสนของสังคมก็มีไม่น้อย   
          หากไม่สามารถหยุดกระแสศรัทธาเรื่องครูบาได้ คณะสงฆ์ สำนักงานพระพุทธศาสนา สำนักวัฒนธรรม และสมาคมสหธรรม ทุกภาคส่วนน่าจะมีมีการทบทวนพิธีสถาปนาครูบาในล้านนา ว่ามีธรรมเนียม มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติ คัดเลือกพระภิกษุสงฆ์เช่นไร และดำเนินการให้ถูกต้อง อย่างน้อยช่วยกลั่นกรองทำเนื้อนาดี ๆ ให้เป็นเนื้อนาบุญ ผืนนาใดดินไร้คุณภาพคณะสงฆ์คงต้องเร่งรัดปรับปรุงดินให้เหมาะแก่การหว่าน เมล็ดพันธ์คือบุญของศรัทธาประชาชน มิให้เสียเวลากับที่นาที่ไร้คุณภาพ นอกจากไม่ได้ผลผลิตแล้วยังทำศรัทธาไทยให้ตกไปอีกคงไม่มีหน่วยงานใดเหมาะสมไป กว่าองค์กรสงฆ์อีกแล้วครับที่จะเป็นเสาหลักในการ ทบทวนเรื่องนี้


ครูบาล้านนา
            การสถาปนาครูบาในล้านนานั้นทำ ครั้งสุดท้ายในสมัยเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ชุดที่ได้รับการสถาปนา รดน้ำมุรธานั้นก็คือ ครูบาหลวงวัดฝายหิน(อภัยสารทะ) จากนั้นการคณะสงฆ์ล้านนา ก็ถูเรียกอำนาจการบริหาร-จัดการเข้าไปรวมศูนย์อยู่ที่ กรุงเทพมหานครฯ และครูบาหลวงอภัยสารทะก็ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าคณะจังหวัดรูปแรกของ จังหวัดเชียงใหม่
           ประเพณีการสรงน้ำ หรือ รดน้ำพระสงฆ์ขึ้นเป็นครูบาจึงหายไปจากล้านนานับแต่นั้น  ครูบาศรีวิชัย คือผู้ได้รับผลกระทบอย่างมากจากกระบวนการรวมศูนย์นี้ เนื่องเพราะมาในจังหวัดหัวเลี้ยวหัวต่อพอดี
         เมื่อพิธีกรรมดังกล่าวหายไปจาก ล้านนา กลับปรากฏว่า ในรัฐฉาน เมืองยอง และเมืองเชียงตุง อันเป็นบ้านพี่เมืองน้องของเชียงใหม่ และอำนาจทาง กทม.ยังไม่สามารถข้ามเข้าไปได้ ยังคงมีประเพณีในการสรงน้ำ สถาปนาครูบาสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งมีลำดับชั้นของพระสงฆ์ผู้จะเข้ารับการแต่งตั้งอยู่ ๔ ระดับ ดังนี้


สมณศักดิ์ของคณะสงฆ์ นครเชียงตุง
 ๑. สมเด็จพระอาชญาธรรม เป็นตำแหน่งสูงสุดในคณะสงฆ์ เป็นผู้มีอายุ ๗๐ และมีพรรษา ๕๐ ขึ้นไป 
 ๒. พระครูบา เป็นตำแหน่งของพระสงฆ์สงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิ      เป็นผู้มีอายุ ๔๐ และมีพรรษา ๒๐ ขึ้นไป
 ๓. พระสวามี  เป็นตำแหน่งของสงฆ์ผู้อุดมด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา  เป็นผู้มีอายุ ๓๐ และมีพรรษา ๑๐ ขึ้นไป 
 ๔. พระสวาทิ  เป็นตำแหน่งของสงฆ์ผู้ทรงศีล สมาธิ ปัญญา เป็นผู้มีอายุ ๓๐ และมีพรรษา ๑๐ ขึ้นไป







ทั้ง นี้ การถวายสมณศักดิ์จะอยู่ในดุลยพินิจของคณะสงฆ์ และสำนักโฆปก(คล้ายสำนักงานพระพุทธศาสนา)ของนครเชียงตุง ซึ่งในบางกรณี อาจมีการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษเพื่อความเหมาะสม เช่นครูบาบุญชุ่ม เป็นต้น
          ก่อนการสถาปนาจะมีการป่าประกาศให้ ประชาชนได้ทราบก่อนว่า จะยกยอพระภิกษุรูปนี้ขึ้นไปเป็นครูบาขอให้ศรัทธาชาวบ้านได้ไปร่วมอนุโมทนา สมเด็จอาชญาธรรม(ใส่) วัดเชียงยืนราชฐาน องค์ปัจจุบันโปรดเมตตาเล่าให้ฟังว่า“ หากพระภิกษุรูปใด ไม่มีศีลธรรม บ่มีคุณสมบัติตามที่นำเสนอมา อันเป็นการมุสาคณะสงฆ์  หลอกลวงเอาฐานะที่ไม่สมควรแก่ตน ยังแห่ไม่เสร็จก็จะเป็นไข้   ไม่สบาย แสดงว่าไม่มีบุญที่จะได้รับการสถาปนา  แต่หากสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่เจ็บไข้    นั้นย่อมหมายความว่า เป็นผู้มีบุญญาธิการ บุญศีลธรรมกัมมัฏฐานคุ้มครอง ควรแก่การยกยอขึ้นสู่ตำแหน่งนั้น ๆ” 
          นอกเหนือจากตำแหน่งที่เป็นทางการ ทั้ง ๔ นี้ยังปรากฏว่าที่เชียงตุงยังมีตำแหน่งทางสังคมอีกตำแหน่งหนึ่ง ที่อยู่ในฐานะเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของปวงชนไม่เฉพาะบ้าน หรือเมืองใดเมืองหนึ่ง นั้นคือ ตำแหน่ง    “เจ้าหน่อต๋นบุญ” จะใช้เรียกขานพระภิกษุ-สามเณรผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ มาตลอดอายุการบวช
         ประมาณเมื่อ ๔  ปีที่แล้วได้มีโอกาสไปร่วมงานประเพณีเข้ากรรมฐานของคณะสงฆ์ตำบลเมืองลัง วัดยางขวาย มีการเทศน์ธรรมมหาชาติ ขณะที่เรากำลังฉันข้าวกันอยู่นั้น ก็ได้ยินศรัทธาป่าวประกาศว่า “สามเณรศีลมั่นมาแล้ว”  หันไปมองเป็นสามเณรน้อย อายุประมาณ ๑๑-๑๒ ปี ท่าทางสงบเสงี่ยมสำรวม ถามชาวบ้านว่า ทำไมเรียกว่า สามเณรศีลมั่น  ได้รับคำอธิบายว่า“ตั้งแต่บวชมาเณรถือศีล กินเจ มาโดยตลอด  ไม่ซุกซนเหมือนเณรน้อยทั่ว ๆ ไป ที่สำคัญการวัตรปฏิบัติก็ดี เรียบร้อย จึงเป็นที่เคารพรักของชาวเชียงตุง”
         จากนี้ไปหากยังมีความมั่นคงอยู่ถึงเป็นพระภิกษุ ก็จะเรียกว่า “ตุ๊เจ้าศีลธรรม” ดังที่ครูบาศรีวิไชยของล้านนาเรา ได้รับการเรียกขานอีกนามหนึ่งว่า “ครูบาศีลธรรม” หากท่านได้ตั้งใจประพฤติดี ไม่หวั่นไหว ถึงขั้นสัจจะอธิษฐานว่า ขอเป็นพระโพธิสัตว์ หรือขอบำเพ็ญบารมีช่วยเหลือผู้คนให้พ้นทุกข์ ขอเป็นพระพุทธเจ้าองค์ในอนาคต เช่นนี้ก็จะได้ชื่อว่า "
เจ้าหน่อต๋นบุญ"
          เท่าที่ทราบ ที่รัฐฉานฟากฝั่งตะวันตกของลุ่มน้ำอิรวดี ตลอดระยะเวลา นับ ๒๐๐ – ๓๐๐ ปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน มีผู้ที่คณะสงฆ์และชาวบ้านยกย่อง ชาวบ้านแทบทุกหลังคาเรือนมีรูปของท่านไว้กราบไหว้บูชา  และ เรียกขานขนานนาม ว่าเป็น เจ้าหน่อต๋นบุญนั้น มีเพียง ๒ รูป คือ

          ๑.   พระพี่หลวงป่าบง เวียงยอง
          ๒. ครูบาบุญชุ่ม  ญาณสงฺวโร (เมืองพงสยาดอ)  



เข้า ใจว่า หากคณะสงฆ์จะเมตตาพิจารณา หลักคิดและวิธีการในการยกย่องสถาปนา ครูบาของนครชียงตุง เพื่อนำมาปรับประยุกต์ใช้ในบ้านเมืองของเรา ก็คงส่งผลดีต่อการคณะสงฆ์อยู่ไม่น้อย
              ๑.  เพื่อเป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรมของคณะสงฆ์ล้านนาที่ยังมีการเคลื่อนไหวตามใจชอบ ให้กลับเข้าสู่กระบวนการของสงฆ์อีกครั้งหนึ่ง
              ๒. เพื่อเสริมสร้างมาตรฐานในการปกครองสงฆ์ ให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
              ๓. เพื่อเป็นฐานในการปฏิบัติของคณะสงฆ์ในปัจจุบันและอนาคตสืบไป

น่า จะเข้าทำนองว่า “ใหม่ก็เอา เก่าก็ไม่ทิ้ง” ทั้งเก่าและใหม่ผสมผสานเพื่อความบริสุทธิ์ เพื่อความงามของวงการสงฆ์สืบไป













พระมหาสง่า   ธีรสํวโร
 

 

 
     
โดย : trirattana   [Feedback +1 -0] [+0 -0]   Thu 26, Jan 2012 16:15:08
 
 

คลุมดำที่ตัวอักษรทั้งหมด ก็สามารถอ่านได้แล้วครับ

 
โดย : trirattana    [Feedback +1 -0] [+0 -0]   [ 1 ] Thu 26, Jan 2012 16:16:42









 

สาธุ.............

 
โดย : papapa    [Feedback +3 -0] [+0 -0]   [ 2 ] Sun 29, Jan 2012 18:40:39

 

 

การสัมมนาวิชาการเรื่อง
“เถราภิเษก พิธียอยกสมณศักดิ์พระสงฆ์ในล้านนา”
             งานจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม  พ.ศ. ๒๕๕๓  เวลา ๐๘.๓๐ น.  ณ  ห้องประชุมธรรมปัญญาบดี  อาคาร ๑  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย  วิทยาเขตเชียงใหม่  วัดสวนดอก
           โดยมีพระวิทยากรคือ  พระมหาสง่า  ธีรสํวโร  สาขาวิชาศาสนา-ปรัชญา  จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตเชียงใหม่  และพระมหาชัชวาล  โชติธมฺโม  เจ้าอาวาสวัดราชมณเฑียร ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่  เป็นพระวิทยากร บรรยายให้ความรู้ ความเข้าใจ การเถราภิเษก  พิธียอยกสมณศักดิ์พระสงฆ์ในล้านนา
 
 
 
 
บทความบางตอนในการยอยกเรื่อง "ครูบา"  โดย...พระมหาสง่า ธีรสํวโร
 
 
"ครูบา" เนื้อนาบุญของล้านนา 
            ตามความเป็นจริงเกี่ยวกับเรื่องของ  คำเรียกขานพระสงฆ์ว่า "ครูบา"  คำว่า "ครูบา" เป็นภาษาบาลี มาจากคำว่า "ครุปิ อาจาริโย" แปลว่า เป็นทั้งครูและอาจารย์  มาจากคำว่า "ครุปา"  ภายหลังเพี้ยนเป็น "ครูบา" ในที่สุด เป็นคำที่พบว่า ใช้กันเฉพาะในกลุ่มวัฒนธรรมล้านนาเท่านั้น เป็นตำแหน่งของพระสงฆ์ ผู้ที่ได้รับการพิจารณา เลือกสรรแล้ว ว่ามีศีลาจารวัตรเรียบร้อย มั่นคงอยู่ในพระธรรมวินัย เป็นที่ยอมรับทั้งในส่วนของคณะสงฆ์ และฆราวาส ศรัทธาประชาชนทั่วไป   หรือ มีผลงานปรากฏแก่ชุมชน ในการก่อสร้างบูรณปฏิสังขรณ์ สร้างวัดวาอาราม เช่น ครูบาอภัยสารทะ(ครูบาหลวง วัดฝายหิน) ครูบาศรีวิชัย   ครูบาขาวปี ครูบาบุญชุ่ม เป็นต้น   หรือมีคุณสมบัติพิเศษอื่น ๆ ในการทำงานเพื่อพระศาสนา หรือเป็นที่พึ่งของประชาชน เช่น ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง อ.แม่แตง เป็นหมอยาแผนโบราณ  ครูบากัญจนะ เมืองแพร่ เชี่ยวชาญเรื่องการจาร รวบรวมคัมภีร์ใบลาน
           ครูบา จึงเป็นคำนำหน้าเฉพาะพระสงฆ์ รูปนั้น ๆ  ซึ่งพระภิกษุทั่วๆ ไปไม่มีสิทธิ์ใช้ หรือแต่งตั้งตัวเองเป็นครูบา  ในระยะเวลาไม่เกิน ๑๐ ปีมานี้ ในเขตภาคเหนือตอนบนกลับปรากฏว่า มีพระภิกษุหนุ่ม ๆ พรรษายังไม่พ้นนิสัยมุตตกะ( ๓ พรรษา) ได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นครูบากันอย่างแพร่หลาย
           ส่วนใหญ่ก็ยึดเอาครูบาศรีวิชัยเป็นต้นแบบ ทั้งการนุ่งห่ม ถือไม้เท้า ห้อยลูกประคำ ถือพัดขนหางนกยูง  ไปทางไหนก็เจอแต่ครูบา ผู้มีจริยาวัตรนำมาซึ่งความศรัทธาเลื่อมใสก็มาก นำมาซึ่งความสับสนของสังคมก็มีไม่น้อย   
          หากไม่สามารถหยุดกระแสศรัทธาเรื่องครูบาได้ คณะสงฆ์ สำนักงานพระพุทธศาสนา สำนักวัฒนธรรม และสมาคมสหธรรม ทุกภาคส่วนน่าจะมีมีการทบทวนพิธีสถาปนาครูบาในล้านนา ว่ามีธรรมเนียม มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติ คัดเลือกพระภิกษุสงฆ์เช่นไร และดำเนินการให้ถูกต้อง อย่างน้อยช่วยกลั่นกรองทำเนื้อนาดี ๆ ให้เป็นเนื้อนาบุญ ผืนนาใดดินไร้คุณภาพคณะสงฆ์คงต้องเร่งรัดปรับปรุงดินให้เหมาะแก่การหว่าน เมล็ดพันธ์คือบุญของศรัทธาประชาชน มิให้เสียเวลากับที่นาที่ไร้คุณภาพ นอกจากไม่ได้ผลผลิตแล้วยังทำศรัทธาไทยให้ตกไปอีกคงไม่มีหน่วยงานใดเหมาะสมไป กว่าองค์กรสงฆ์อีกแล้วครับที่จะเป็นเสาหลักในการ ทบทวนเรื่องนี้
 
 
ครูบาล้านนา
            การสถาปนาครูบาในล้านนานั้นทำ ครั้งสุดท้ายในสมัยเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ชุดที่ได้รับการสถาปนา รดน้ำมุรธานั้นก็คือ ครูบาหลวงวัดฝายหิน(อภัยสารทะ) จากนั้นการคณะสงฆ์ล้านนา ก็ถูเรียกอำนาจการบริหาร-จัดการเข้าไปรวมศูนย์อยู่ที่ กรุงเทพมหานครฯ และครูบาหลวงอภัยสารทะก็ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าคณะจังหวัดรูปแรกของ จังหวัดเชียงใหม่
           ประเพณีการสรงน้ำ หรือ รดน้ำพระสงฆ์ขึ้นเป็นครูบาจึงหายไปจากล้านนานับแต่นั้น  ครูบาศรีวิชัย คือผู้ได้รับผลกระทบอย่างมากจากกระบวนการรวมศูนย์นี้ เนื่องเพราะมาในจังหวัดหัวเลี้ยวหัวต่อพอดี
         เมื่อพิธีกรรมดังกล่าวหายไปจาก ล้านนา กลับปรากฏว่า ในรัฐฉาน เมืองยอง และเมืองเชียงตุง อันเป็นบ้านพี่เมืองน้องของเชียงใหม่ และอำนาจทาง กทม.ยังไม่สามารถข้ามเข้าไปได้ ยังคงมีประเพณีในการสรงน้ำ สถาปนาครูบาสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งมีลำดับชั้นของพระสงฆ์ผู้จะเข้ารับการแต่งตั้งอยู่ ๔ ระดับ ดังนี้
 
 
สมณศักดิ์ของคณะสงฆ์ นครเชียงตุง
 ๑. สมเด็จพระอาชญาธรรม เป็นตำแหน่งสูงสุดในคณะสงฆ์ เป็นผู้มีอายุ ๗๐ และมีพรรษา ๕๐ ขึ้นไป 
 ๒. พระครูบา เป็นตำแหน่งของพระสงฆ์สงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิ     เป็นผู้มีอายุ ๔๐ และมีพรรษา ๒๐ ขึ้นไป
 ๓. พระสวามี เป็นตำแหน่งของสงฆ์ผู้อุดมด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นผู้มีอายุ ๓๐ และมีพรรษา ๑๐ ขึ้นไป 
 ๔. พระสวาทิ เป็นตำแหน่งของสงฆ์ผู้ทรงศีล สมาธิ ปัญญา เป็นผู้มีอายุ ๓๐ และมีพรรษา ๑๐ ขึ้นไป
 
 
 
 
 
 
ทั้ง นี้ การถวายสมณศักดิ์จะอยู่ในดุลยพินิจของคณะสงฆ์ และสำนักโฆปก(คล้ายสำนักงานพระพุทธศาสนา)ของนครเชียงตุง ซึ่งในบางกรณี อาจมีการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษเพื่อความเหมาะสม เช่นครูบาบุญชุ่ม เป็นต้น
          ก่อนการสถาปนาจะมีการป่าประกาศให้ ประชาชนได้ทราบก่อนว่า จะยกยอพระภิกษุรูปนี้ขึ้นไปเป็นครูบาขอให้ศรัทธาชาวบ้านได้ไปร่วมอนุโมทนา สมเด็จอาชญาธรรม(ใส่) วัดเชียงยืนราชฐาน องค์ปัจจุบันโปรดเมตตาเล่าให้ฟังว่า“ หากพระภิกษุรูปใด ไม่มีศีลธรรม บ่มีคุณสมบัติตามที่นำเสนอมา อันเป็นการมุสาคณะสงฆ์  หลอกลวงเอาฐานะที่ไม่สมควรแก่ตน ยังแห่ไม่เสร็จก็จะเป็นไข้   ไม่สบาย แสดงว่าไม่มีบุญที่จะได้รับการสถาปนา  แต่หากสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่เจ็บไข้    นั้นย่อมหมายความว่า เป็นผู้มีบุญญาธิการ บุญศีลธรรมกัมมัฏฐานคุ้มครอง ควรแก่การยกยอขึ้นสู่ตำแหน่งนั้น ๆ” 
          นอกเหนือจากตำแหน่งที่เป็นทางการ ทั้ง ๔ นี้ยังปรากฏว่าที่เชียงตุงยังมีตำแหน่งทางสังคมอีกตำแหน่งหนึ่ง ที่อยู่ในฐานะเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของปวงชนไม่เฉพาะบ้าน หรือเมืองใดเมืองหนึ่ง นั้นคือ ตำแหน่ง    “เจ้าหน่อต๋นบุญ” จะใช้เรียกขานพระภิกษุ-สามเณรผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ มาตลอดอายุการบวช
         ประมาณเมื่อ ๔  ปีที่แล้วได้มีโอกาสไปร่วมงานประเพณีเข้ากรรมฐานของคณะสงฆ์ตำบลเมืองลัง วัดยางขวาย มีการเทศน์ธรรมมหาชาติ ขณะที่เรากำลังฉันข้าวกันอยู่นั้น ก็ได้ยินศรัทธาป่าวประกาศว่า “สามเณรศีลมั่นมาแล้ว”  หันไปมองเป็นสามเณรน้อย อายุประมาณ ๑๑-๑๒ ปี ท่าทางสงบเสงี่ยมสำรวม ถามชาวบ้านว่า ทำไมเรียกว่า สามเณรศีลมั่น  ได้รับคำอธิบายว่า“ตั้งแต่บวชมาเณรถือศีล กินเจ มาโดยตลอด  ไม่ซุกซนเหมือนเณรน้อยทั่ว ๆ ไป ที่สำคัญการวัตรปฏิบัติก็ดี เรียบร้อย จึงเป็นที่เคารพรักของชาวเชียงตุง”
         จากนี้ไปหากยังมีความมั่นคงอยู่ถึงเป็นพระภิกษุ ก็จะเรียกว่า “ตุ๊เจ้าศีลธรรม” ดังที่ครูบาศรีวิไชยของล้านนาเรา ได้รับการเรียกขานอีกนามหนึ่งว่า “ครูบาศีลธรรม” หากท่านได้ตั้งใจประพฤติดี ไม่หวั่นไหว ถึงขั้นสัจจะอธิษฐานว่า ขอเป็นพระโพธิสัตว์ หรือขอบำเพ็ญบารมีช่วยเหลือผู้คนให้พ้นทุกข์ ขอเป็นพระพุทธเจ้าองค์ในอนาคต เช่นนี้ก็จะได้ชื่อว่า "เจ้าหน่อต๋นบุญ"
          เท่าที่ทราบ ที่รัฐฉานฟากฝั่งตะวันตกของลุ่มน้ำอิรวดี ตลอดระยะเวลา นับ ๒๐๐ – ๓๐๐ ปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน มีผู้ที่คณะสงฆ์และชาวบ้านยกย่อง ชาวบ้านแทบทุกหลังคาเรือนมีรูปของท่านไว้กราบไหว้บูชา  และ เรียกขานขนานนาม ว่าเป็น เจ้าหน่อต๋นบุญนั้น มีเพียง ๒ รูป คือ
          ๑.   พระพี่หลวงป่าบง เวียงยอง
          ๒. ครูบาบุญชุ่ม  ญาณสงฺวโร (เมืองพงสยาดอ)  
 
 
เข้า ใจว่า หากคณะสงฆ์จะเมตตาพิจารณา หลักคิดและวิธีการในการยกย่องสถาปนา ครูบาของนครชียงตุง เพื่อนำมาปรับประยุกต์ใช้ในบ้านเมืองของเรา ก็คงส่งผลดีต่อการคณะสงฆ์อยู่ไม่น้อย
              ๑. เพื่อเป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรมของคณะสงฆ์ล้านนาที่ยังมีการเคลื่อนไหวตามใจชอบ ให้กลับเข้าสู่กระบวนการของสงฆ์อีกครั้งหนึ่ง
              ๒. เพื่อเสริมสร้างมาตรฐานในการปกครองสงฆ์ ให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
              ๓. เพื่อเป็นฐานในการปฏิบัติของคณะสงฆ์ในปัจจุบันและอนาคตสืบไป
น่า จะเข้าทำนองว่า “ใหม่ก็เอา เก่าก็ไม่ทิ้ง” ทั้งเก่าและใหม่ผสมผสานเพื่อความบริสุทธิ์ เพื่อความงามของวงการสงฆ์สืบไป
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระมหาสง่า   ธีรสํวโร
 
 
 
 
เอามาวางหื้อใหม่ครับ
 
โดย : noui004    [Feedback +18 -0] [+0 -0]   [ 3 ] Tue 31, Jan 2012 19:03:46

 

สาธุ สาธุ สาธุ  ท่านมหาสง่า เป๋นต๋นบุญ ที่หน้าไหว้สานักแล

 
โดย : pootom999    [Feedback +10 -0] [+0 -0]   [ 4 ] Wed 1, Feb 2012 12:50:43

 
“เถราภิเษก พิธียอยกสมณศักดิ์พระสงฆ์ในล้านนา” : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.