พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระเกจิอาจารย์ล้านนา

ของดีวัดร่ำเปิง(ตโปทาราม)


ของดีวัดร่ำเปิง(ตโปทาราม)


ของดีวัดร่ำเปิง(ตโปทาราม)

   
  เหรียญหลวงพ่อตโป  รุ่นแรก เป็นเหรียญรุ่นแรก ของวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 2  เหรียญนี้สร้างขึ้นเมื่อ  พ.ศ 2523  ซึ่งตอนนั้นหลวงปู่ทอง (พระธรรมมังคลาจารย์ วิ.)  เป็นเจ้าอาวาสวัด ร่ำเปิง (ตอนนั้นเรียกว่า วัดตโปทาราม) เหรียญลงยานี้จำนวนการสร้างไม่เกิน   500  เหรียญ ลงยามีสองสีคือลงยาสี น้ำเงิน และ สีแดง ในหลวงเสด็จเป็นประธานในพิธีและทรงเมตตาแจกเอง  สำหรับคนที่ช่วยบริจาคเงินทำบุญช่วยวัดเท่านั้นถึงใด้และเข้ารับเอง   ส่วนเนื้อทองแดงแจกผู้มาร่วมงานในพิธี  
     
โดย : samran   [Feedback +121 -1] [+0 -0]   Wed 28, Sep 2011 16:41:27
 








 
ภาพเก่าเล่าใหม่  ครับ ภาพตอนในหลวง  และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จ
 
โดย : samran    [Feedback +121 -1] [+0 -0]   [ 1 ] Wed 28, Sep 2011 16:45:13









 
ภาพด้านหลังวิหาร วัดร่ำเปิง(ตดปทาราม)  ในอดีตและปัจจุบัน ผ่านมา  31 ปี
 
โดย : samran    [Feedback +121 -1] [+0 -0]   [ 2 ] Wed 28, Sep 2011 16:48:43

 
ภาพด้านหลังวิหาร วัดร่ำเปิง(ตโปทาราม)  ในอดีตและปัจจุบัน ผ่านมา  31 ปี
 
โดย : samran    [Feedback +121 -1] [+0 -0]   [ 3 ] Wed 28, Sep 2011 16:50:33









 
 
โดย : ตี๋แสงจันทร์    [Feedback +42 -1] [+0 -0]   [ 4 ] Wed 28, Sep 2011 17:17:37









 

สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 2
วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
Northern Insight Meditation Centre  Wat Ram Poeng (Tapotaram)
          พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์วงศ์มังราย ครองเมืองเชียงใหม่องค์ที่ 12 พ.ศ. 1984 – 2030 มีพระราชโอรสอันประสูติจากพระมเหสีเพียงพระองค์เดียว คือ ท้าวศรีบุญเรือง เมื่อท้าวศรีบุญเรืองพระชนม์ได้ 20 พรรษา มีคนเพ็ดทูลพระเจ้าติโลกราชว่า ท้าวศรีบุญเรืองเตรียมการจะคิดกบฏ ทำให้ทรงคลางแคลงพระทัย จึงทรงโปรดให้ไปครองเมืองเชียงแสนและเชียงราย ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านในขณะนั้น   ณ เมืองเชียงรายนี้เอง ได้เป็นที่ประสูติของพระเจ้ายอดเชียงราย และโดยเหตุที่ประสูติ บนยอดเขาสูงในเชียงราย (ยอดดอกบัว) ท้าวศรีบุญเรือง จึงประทานนามพระโอรสว่า ยอดเชียงราย”    ต่อมา พระเจ้าติโลกราชถูกเพ็ดทูล จากนางหอมุขพระสนมเอกว่าท้าวศรีบุญเรืองเตรียมการก่อกบฏอีก จึงมีพระกระแสรับสั่งให้ปลงพระชนม์พระราชโอรสเสีย และหลังจากนั้นทรงโปรดให้  พระราชนัดดา คือ พระเจ้ายอดเชียงราย ครองเมืองเชียงรายสืบต่อมา

ครั้นถึง พ.ศ. 2030 พระเจ้าติโลกราชเสด็จสวรรคต ราษฎรได้พร้อมใจกันอัญเชิญพระเจ้า ยอดเชียงรายขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ หลังจากที่จัดการบ้านเมืองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทรงดำเนินการสอบสวนหาผู้ที่เป็นต้นเหตุยุแหย่ให้ท้าวศรีบุญเรือง พระราชบิดาต้องสิ้นพระชนม์ จนทำให้พระราชมารดาของพระองค์ตรอมพระทัย ถึงกับเสียพระสติ พระองค์ทรงกำหนดโทษให้ประหารชีวิตแก่ผู้ที่เป็นต้นเหตุ แต่โดยที่พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ภายหลังที่ได้สั่งให้สำเร็จโทษผู้กระทำผิดได้แล้ว ทรงเกรงจะเป็นเวรกรรมจึงทรงดำริที่จะหาทางผ่อนคลายมิให้เป็นบาปกรรมต่อกันสืบต่อไป

ครั้งนั้นมีพระธุดงค์รูปหนึ่งมาจากต่างเมือง ได้ปักกลดอยู่ที่เชิงดอยสุเทพ ที่ตั้งวัดร่ำเปิงในกาลบัดนี้ ได้ทูลพระเจ้ายอดเชียงรายว่า ณ ต้นมะเดื่อ ไม่ห่างจากที่ท่านปักกลดอยู่เท่าใดนัก ได้มีรัศมีพวยพุ่งขึ้นในยามราตรี สงสัยว่าจะมีพระธาตุประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง พระเจ้ายอดเชียงรายจึงทรงช้าง พระที่นั่งอธิษฐานเสี่ยงทายว่า ถ้ามีพระบรมธาตุประดิษฐาน และพระองค์จะได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสืบต่อไป แล้วก็ขอให้ช้างพระที่นั่งไปหยุด ณ ที่แห่งนั้น ทรงอธิษฐานแล้วก็ทรงช้างเสด็จไป ช้างนั้นก็ได้พาพระองค์มาหยุดอยู่ใต้ต้นมะเดื่อ พระองค์จึงให้ขุดรอบๆ ต้นมะเดื่อนั้นก็ทรงพบพระบรมธาตุพระเขี้ยวแก้วบรรจุอยู่ในผอบดินแบบเชียงแสน พระองค์จึงทรงทำพิธีสมโภช และอธิษฐานขอเห็นอภินิหารของพระบรมสารีริกธาตุนั้น จากนั้นจึงบรรจุลงในผอบทอง แล้วนำไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่ในบริเวณนั้น 

พระองค์ได้จารึกประวัติการสร้างวัดนี้ลงในศิจารึก ซึ่งเรียกว่า ศิลาฝักขาม (ตัวหนังสือฝักขาม) ดังมีใจความว่า สองพันสามสิบห้าปีจุลศักราชได้แปดร้อยห้าสิบสี่ตัวในปีเต๋าใจ๋ (เหนือ) เดือนวิสาขะไทยว่าเดือนเจ็ดออก(ขึ้น) สามค่ำวันศุกร์ไทย ได้ฤกษ์อันถ้วนสอง ได้โยคชื่ออายูสมะ ยามกลองงายแล้วสองลูกนาที ซึ่งแปลเป็นภาษาปัจจุบันว่า วันศุกร์ขึ้นสามค่ำเดือนเจ็ด ปีชวด พุทธศักราชสองพันสามสิบหาปี เวลา 08.20 น. ได้ฤกษ์ภรณี (ดาวงอนไถ) ได้โยคมหาอุจจ์คือการก่อสร้างวัดได้ส่วนกันทั้งทางฝ่าย พุทธจักรและอาณาจักร โดยพระองค์ได้ทรงมีพระราชบัญชาให้พระมเหสีชื่อ พระนางอะตะปาเทวี เป็นผู้ดำเนินการสร้าง พระนางอะตะปาเทวี ได้ประชุมแต่งตั้ง กรรมการดังต่อไปนี้

 

รายนามพระมหาเถระ 

 

1. พระมหาสามีญาณโพธิเจ้า

2. พระมหาเถระสุระสีมหาโพธิเจ้า

3. พระมหาเถระธรรมเสนาปติเจ้า

4. พระมหาเถระสัทธรรมฐิระประสาทเจ้า

5. พระมหาเถระญาณสาครอารามิตรเจ้า

(ในศิลาจารึกว่ามีประมาณ 100 รูป แต่ปรากฏชื่อเพียง 5 รูป)

 

รายพระนามและนามผู้สร้างฝ่ายอาณาจักร 

 

1. พระนางอะตะปาเทวี ประธานกรรมการออกแบบดำเนินการสร้าง

2. เจ้าเมืองญี่ เจ้าเมืองเชียงราย ผู้เป็นพระราชปิตุลา

3. เจ้าอติวิสุทธ เจ้าหมื่นเมืองตินเชียง

4. เจ้าหมื่นคำพร้ากลาง

5. เจ้าหมื่นธรรมเสนาปติ เมืองจา

6. เจ้าหมื่นหนังสือวิมลกิรติสิงหราชมนตรี

7. เจ้าพันเชิงคดีรัตนปัญโญ

8. เจ้าหมื่นโสม ราชภัณฑ์คริก

ในประวัติไม่ได้บอกชัดว่าใช้เวลาสร้างนานเท่าใด กล่าวแต่ว่าสำเร็จแล้วทุกประการ พร้อมทั้งสร้างพระพุทธรูปเป็นพระประธาน และพระพุทธรูปตามซุ้มที่พระธาตุเจดีย์กับได้สร้างพระไตรปิฎกและพระราชทานทรัพย์ (นา) เงิน (เบี้ย) ดังปรากฏในศิลาจารึกว่า มีราชเขตทั้งหลายอันกฎหมายไว้กับอารามนี้นาสามล้านห้าหมื่นพัน ไว้กับเจดีย์สี่ด้าน สี่แสนเบี้ยไว้กับพระเจ้า (พระประธาน) ในวิหาร ห้าแสนเบี้ยไว้กับอุโบสถ สี่แสนเบี้ยไว้เป็นจังหัน (ค่าภัตตาหาร) ล้านห้าแสนห้าหมื่นพันเบี้ยไว้ให้ผู้รักษากิน สองแสนเบี้ยให้ชาวบ้านยี่สิบครัวเรือนไว้เป็นผู้ดูแลและอุปัฏฐากรักษาวัด

  

วัดร่ำเปิงหรือวัดตโปทาราม ได้อยู่ในสภาพวัดร้างมาหลายยุคหลายสมัยและเมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง กองทหารญี่ปุ่นได้เข้ามาครอบครองใช้เป็นที่ปฏิบัติการ ปรากฏว่าได้มีผู้ลักลอบขุดพระธาตุเจดีย์ ได้นำเอาพระพุทธรูปและวัตถุโบราณต่าง ๆ ไป อุโบสถและวิหารที่พระเจ้ายอดเชียงรายและพระมเหสีทรงสร้างขึ้นพร้อมกับวัด ได้ชำรุดทรุดโทรมแตกปรักหักพังจนสภาพต่าง ๆ แทบไม่หลงเหลืออยู่เลย 

หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสงบลงแล้ว พวกชาวบ้านที่อพยพหลบภัยไปอยู่ที่อื่น ก็ทยอยกันกลับมา สภาพวัดก็ยังขาดการบำรุงรักษาบางครั้งขาดพระจำพรรษา หรือถ้ามีก็เพียงรูปเดียว ต่อมาในปี พ.ศ.2512 เริ่มมีการก่อสร้างวิหารขึ้นใหม่ แล้วจึงได้อาราธนาพระภิกษุชาวบ้านร่ำเปิงรูปหนึ่งชื่อ หลวงปู่จันทร์สม หรือ ครูบาสม มาปกครองดูแลวัดได้ระยะหนึ่ง ทำให้วิหารแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2516 ต่อมา ท่านถึงแก่มรณภาพ วัดก็ขาดพระจำพรรษาไปจนถึงปลายปี พ.ศ. 2517

  

อุโบสถที่มีอยู่ในเวลานี้ได้สร้างขึ้นใหม่บนฐานอุโบสถเดิม เมื่อปี พ.ศ. 2519 โดยมีผู้มีจิตศรัทธาช่วยซ่อมให้ได้ใช้ในการปฏิบัติสังฆกรรมมาจนถึงปัจจุบัน สำหรับพระพุทธรูปพระประธานนั้นพระเศียรเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่มีอายุประมาณ 700-800 ปี เป็นศิลาศิลปะอู่ทองอยุธยา ได้สร้างองค์พระรองรับขนาดหน้าตักกว้าง 30 นิ้ว สูง 47 นิ้วโดย จ.ส.ต ประยุทธ ไตรเพียร และคณะ ได้นำถวายไว้เป็นสมบัติของวัดร่ำเปิง เมื่อวันเสาร์ ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2518 และมีชื่อว่า หลวงพ่อศรีอโยธยา

พระครูพิพัฒน์คณาภิบาล (ทอง สิริมงฺคโล) เป็นเจ้าอาวาสวัดเมืองมางและเป็นอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนาธุระประจำสำนักวัดเมืองมาง ได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ให้เข้ามาพัฒนาวัดร่ำเปิงเป็นสำนักปฏิบัติธรรม โดยวางโครงการที่จะขยายงานวิปัสสนากรรมฐานขึ้นอีกแห่งหนึ่ง จึงได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดร่ำเปิง หรือ ตโปทารามแห่งนี้ แล้วชักชวนชาวบ้านในท้องถิ่น ตลอดถึงผู้ใจบุญทั้งหลาย ช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์ฟื้นฟูขึ้นและได้เปิดป้ายสำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดร่ำเปิง เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2518 ตรงกับวันเสาร์ขึ้น 11 ค่ำ ต่อมาท่านได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในปี พ.ศ. 2531 และได้พัฒนาก่อสร้างถาวรวัตถุ ตลอดจนซ่อมแซมบูรณะถาวรวัตถุภายในวัดให้เจริญรุ่งเรือง

ในปี พ.ศ. 2533 พระครูพิพัฒน์คณาภิบาลได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษเป็นพระราชคณะที่ พระสุพรหมยานเถรและในปี พ.ศ. 2534 ถัดมาท่านเจ้าพระคุณพระสุพรหมยานเถรได้รับบัญชาจากสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ให้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ณ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ พระสุพรหมยานเถร จึงได้เสนอให้เจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงใหม่ แต่งตั้งให้พระสมุห์สุพันธ์ อาจิณฺณสีโล รักษาการแทนเจ้าอาวาส ในปี พ.ศ. 2537

ในปี พ.ศ. 2539 เจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงใหม่ ได้เสนอให้เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ แต่งตั้งให้พระปลัดสุพันธ์ อาจิณฺณสีโล เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งเจ้าอาวาสรูปใหม่นี้ ได้เป็นลูกศิษย์ที่สืบทอดเจตนารมณ์ ของพระสุพรหมยานเถร อดีตเจ้าอาวาสทุกประการ

พระปลัดสุพันธ์ อาจิณฺณสีโล หรือพระครูภาวนาวิรัชองค์ปัจจุบัน ได้ส่งเสริมทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ ด้วยการสร้างอาคารโรงเรียนพระปริยัติธรรมสูง 3 ชั้น จำนวน 1 หลัง เพื่อการเรียนนักธรรมบาลีพระอภิธรรม และสร้างอาคารศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติสูง 4 ชั้น จำนวน 1 หลัง เพื่อการปฏิบัติธรรมกลุ่มใหญ่ของคณะนักเรียน นิสิต นักศึกษา ข้าราชการ และประชาชน สร้างกุฏิที่พักสงฆ์ 3 หลัง จำนวน 51 ห้อง กุฏิกรรมฐานฝ่ายสงฆ์ ฆราวาสชาย 38 หลัง จำนวน 50 ห้อง อาคารวิปัสสนาฝ่ายหญิง 2 หลัง จำนวน 36 ห้อง กุฏิวิปัสสนาฝ่ายหญิง 54 หลัง จำนวน 83 ห้อง

วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) เป็นวัดวิปัสสนากรรมฐานทางภาคเหนือ ที่ทำการอบรมพระกรรมฐานในแนวสติปัฏฐาน 4 ที่ปัจจุบันมีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้ารับการอบรมปฏิบัติต่อเนื่องกันตลอดปีไม่ขาดสาย เป็นวัดแห่งแรก ที่มีพระไตรปิฎกฉบับล้านนา และได้ชื่อว่าเป็นวัดที่มีพระไตรปิฎกฉบับภาษาต่าง ๆ มากที่สุด วัดหนึ่งในเมืองไทย

 
โดย : samran    [Feedback +121 -1] [+0 -0]   [ 5 ] Wed 28, Sep 2011 18:48:25





 
 
โดย : kanung    [Feedback +44 -0] [+1 -0]   [ 6 ] Wed 28, Sep 2011 20:00:54





 
กำลังหันเตื่อแรกครับ...แม่ชีดูเข้มขลังมีวิทยายุทธสูงครับ
 
โดย : papapa    [Feedback +3 -0] [+0 -0]   [ 7 ] Wed 28, Sep 2011 20:36:58









 
 
โดย : pingpong    [Feedback +39 -0] [+1 -0]   [ 8 ] Thu 29, Sep 2011 08:58:00





 
 
โดย : เซียนน้อยKSR    [Feedback +1 -0] [+0 -0]   [ 9 ] Thu 29, Sep 2011 16:32:31

 
ยอดเยี่ยมครับ
 
โดย : สิบสองปันนา    [Feedback +1 -0] [+0 -0]   [ 10 ] Fri 30, Sep 2011 17:56:30





 
ขอบคุณเซียนใหย่ใจดีทุกๆท่าน ที่เมตตาเข้ามาเยี่ยมชมครับ
 
โดย : samran    [Feedback +121 -1] [+0 -0]   [ 11 ] Fri 30, Sep 2011 18:53:13

 
ของดีวัดร่ำเปิง(ตโปทาราม) : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.