พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระกรุทั่วไป

@@ แชมป์ของกรุ @@


@@ แชมป์ของกรุ @@


@@ แชมป์ของกรุ @@

   
  สวัสดีครับท่านผู้มีเกียรติและพ่อแม่พี่น้องที่เคารพทั้งหลาย วันนี้กระผมได้มีโอกาสได้มาพูดคุยกับท่านผู้มีเกียรติและพ่อแม่พี่น้องทั้งหลาย เนื่องจากกระผมได้มีโอกาสกราบนมัสการท่านพระครูวิเศษชัยวัฒน์ หรือหลวงพี่เสวย ท่านเจ้าอาวาสวัดชัยมงคล และ รักษาการ เจ้าอาวาสวัดขุนอินทประมูล จังหวัอ่างทอง ท่านเจ้าประคุณหลวงพี่เสวยได้ถาม “ พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล ” ซึ่งขุดขึ้นมาจากกรุใต้ฐานของพระพุทไสยาสน์ ขุนอินทประมูล จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปรางค์ไสยาสน์ที่ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่มาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระพุทธประวัติของพระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูลนั้นท่านเจ้าประคุณหลวงพี่เสวย ก็คงจะได้รวบรวมมาในหนังสืออย่างละเอียดแล้ว สิ่งที่ กระผมจะกล่าวถึง ก็เป็นเพียงเฉพาะ พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลเท่านั้น และด้วยปรัชญาการวินิจฉัยพระเครื่องพระบูชานั้น ไม่ควรจะใช้หูฟัง ไม่ควรจะเชื่อหรืออ่านจากพุทธประวัติทั้งสิ้น ให้ใช้ตาพิจารณาถึงความเป็นไปได้ขององค์พระพุทธปฏิมากรรม คือ พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลเท่านั้น เป็นพระผงสีขาวที่มีมวลสารตามทฤษฎีของพระสมเด็จพุฒาจารย์(โต)พรหมรังสี วัดระฆังโฆษิตาราม เป็นพระรูปทรง สี่เหลี่ยมและมีขนาดเท่าๆ กับ พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม พุทธศิลป์ใกล้เคียงกับพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตารามมาก แต่ก็มีพุทธพิมพ์ในรายละเอียดที่แตกต่างกันบ้างอันเป็นเอกลักษณ์แม่พิมพ์ของ พระสมเด็จ กรุขุนอินทประมูลโดยเฉพาะพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลนั้น ท่านผู้รู้ในจังหวัดอ่างทอง ได้ขนานพระนาม เป็นพระพิมพ์ว่า๑. พระพิมพ์พระประธาน ๒. พระพิมพ์ใหญ่ ๓. พระพิมพ์ทรงเจดีย์ ๔. พระสมเด็จองค์เล็ก หรือ พิมพ์คะแนน เอกลักษณ์ของพระประธานนั้นเป็นพระพิมพ์ 3 ชั้น มีเส้นแซมใต้ตักที่มีขนาดค่อนข้างหนาอย่างเห็นได้ชัด ซุ้มเรือน แก้ว เป็นซุ้มผ่าหวายที่เส้นใหญ่และคมลึกมาก องค์พระประธานจะมีพุทธศิลป์ที่ล่ำสันสง่างามมาก มีความลึกมากกว่าพิมพ์อื่นเล็กน้อย เศียรขององค์พระเป็นรูปกลมรีในพุทธลักษณะของศิลปะสุโขทัย คือมีคางเล็กลงและเชื่อมลงมายังต้นคอขององค์พระซึ่งเห็นอยู่ในทีเท่านั้น มิได้เป็นรูปแท่งของลำคอเหมือนพระรุ่นใหม่ทั่วไปพุทธศิลป์ที่แตกต่างกับพระสมเด็จวัดระฆัง โฆษิตารามพิมพ์ใหญ่คือ ไม่ปรากฏมีหูอยู่รำไร พระพักตร์ไม่ปรากฏมีหน้าตาชัด พระเกศเป็นกรวยยาวแหลมขึ้นไปจรดครอบแก้ว พระพุทธศิลป์ที่คล้ายคลึงกับพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตารามก็คือที่รักแร้ขององค์พระประธานด้านซ้ายมือจะลึกสูงกว่าซอกรักแร้ด้านขวามือขององค์พระประธาน หน้าตักซ้ายขององค์พระประธานจะสูงขึ้นกว่าหน้าตักทางขวามือขององค์พระประธานเป็นเหตุให้พุทธลักษณะขององค์พระประธานจะนั่งเอียงจากฐานเล็กน้อยซึ่งเหมือนกับพุทธศิลป์ของ พระสมเด็จ วัดระฆังโฆษิตารามพิมพ์ใหญ่ ฐานทั้ง 3 ชั้นจะใหญ่และลึก มีฐานสิงห์ปรากฏที่ ฐานชั้นสอง ทั้ง 2 ข้าง พุทธศิลป์พิมพ์หลังเป็นพิมพ์หลังเรียบ ทั้ง 3 พิมพ์เหมือนกัน การตัดพิมพ์ขององค์พระนั้น เมื่อปั๊มแม่พิมพ์แล้วน่าจะตัดด้วยตอกจากด้านหลังขององค์พระเสร็จแล้วจึงถอดองค์พระออกจากแม่พิมพ์ เหมือนพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม จึงไม่ปรากฏมีเนื้อปลิ้นบนขอบตัดด้านหน้าซึ่งจะแตกต่างจากพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม ซึ่งตัดจากด้านหน้าไปยังด้านหลัง จึงปรากฏขอบตัดที่ปลิ้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การตัดแม่พิมพ์นั้น ถึงจะเป็นการตัดแม่พิมพ์จากด้านหลังมาสู่ด้านหน้า แต่ก็ใช้กรรมวิธีตัดขอบที่ไม่เหมือนกัน จึง ไม่ปรากฏรอยปูไต่บนพิมพ์ด้านหลังทั้ง 4 ขอบ จึงสันนิษฐานได้ว่าอาจจะใช้ตอกตัดตรงทั้ง 4 ด้านทุกองค์ มวลสารขององค์พระนั้นมีเอกลักษณ์ของสมเด็จวัดระฆังค่อนข้างจะครบสูตรคือ มีรอยพรุนบนองค์พระทั่วๆไป จึงสันนิษฐานได้ว่าน่าจะมีส่วนผสมของผงธูปที่บูชาพระ เมื่อพระได้อายุนานปีผงธูปได้หดตัวแลเสื่อมหายไป จึงเกิดรอยรูพรุนหรือรอยเข็มทั่วไป รอยบุ้งไต่หรือรอยหนอนด้นซึ่งเกิดจากมวลสารที่เป็นดอกไม้ พืชผักหรือเนื้อสัตว์ที่เป็นเศษอาหาร เมื่อสลายตัวแล้ว จึงปรากฏร่องรอยที่เหลืออยู่ เป็นรอยคล้ายบุ้งไต่หรือหนอนด้น คล้ายกับพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม เม็ดพระธาตุ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม คือเป็นมวลสาร ที่ผสมด้วยเศษปูนเก่าที่ ี่ตำละเอียดผสมอยู่ในมวลสารของการสร้างพระ เมื่อพระสมเด็จมีอายุเป็นร้อยปี เศษปูนเก่าและส่วนผสมของปูนใหม่ มีการหดตัวและมีรอยแยกกันเป็นธรรมชาติสำหรับไม้ก้านธูปหรือเศษมวลสารอื่นๆซึ่งมีในพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตารามนั้น ยังไม่พอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ ในความเป็นจริงนั้นพระพุทธปฏิมากรรมหรือพระเครื่องที่สร้างขึ้นโดยคณาจารย์ที่มีตำแหน่งระดับพระสมเด็จ เช่น สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี,หรือสมเด็จพระสังฆราชเจ้า (สุกไก่เถื่อน)ประชาชนชาวไทยจะขนานพระนามว่า เป็น พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พระสมเด็จอรหัง เป็นต้น แต่ถ้าเป็นพระเครื่องที่สร้าง โดยคณาจารย์ที่ไม่มีตำแหน่งชั้นสมเด็จพระเครื่องเหล่านั้นจะไม่ขนานพระนามว่าเป็นพระสมเด็จ ดังตัวอย่าง เช่น พระ วัดรังษี พระวัดพลับ พระหลวงปู่ภู เป็นต้น แต่ปัจจุบันแนวทางการขนานพระนามของพระเครื่องในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ ี่มีพุทธลักษณะคล้ายๆ พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม ก็มีการขนานพระนามเป็นพระสมเด็จเช่นกัน เช่น พระสมเด็จวัดเกศไชโย เป็นต้น สำหรับพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลนั้น เนื่องจากมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกับ พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตารามทั้งพุทธศิลป์และมวลสารทั้งหมด อีกทั้งตามพุทธประวัติ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต)พรหมรังสี ได้เคยเสด็จ มากราบนมัสการพระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูลเหมือนเช่น วัดเกศไชโย พระสมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูลจึงอาจจะได้รับความเมตตาจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์(โต)พรหมรังสี เป็นผู้สร้างหรือร่วมสร้างและบรรจุในใต้ฐานของพระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล หรืออย่างน้อยที่สุดก็อาจจะได้รับพระบารมีจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี คณะกรรมการจึงขนานพระนามเป็น “ พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล ” พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล เป็นพระเนื้อผงที่บรรจุในใต้ฐานพระพุทธไสยาสน์ ขุนอินทประมูลและน่าจะบรรจุ อยู่ในที่สูงปราศจากน้ำท่วมใดๆ ด้วยอายุขององค์พระที่บรรจุไว้นานเป็นร้อยปี กลางวันจะร้อนด้วยไอแดด และกลางคืน จะเย็นด้วยอากาศในตอนกลางคืน จึงก่อเกิดคราบปูนในอากาศที่ตกตะกอนจับลงบน องค์พระเครื่องที่เป็นพระผง จน กระทั่งมี คราบปูนสีขาวนวลและจับแน่นเหมือนหินปูนโดยทั่วทั้งองค์พระ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ ดังตัวอย่าง เช่น พระหลวงปู่ภูพิมพ์ ๗ ชั้น ของวัดอินทร์ ฯ ที่ไปบรรจุไว้ในกรุ ที่จังหวัดพิษณุโลกนั้น จะมีผิวคราบปูนจับอยู่บาง ๆเป็นต้น แต่คราบปูนที่จับอยู่บน พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล มีความหนากว่ามาก แสดงว่าพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล ได้บรรจุในกรุมีอายุนานกว่าพระหลวงปู่ภูพิมพ์ ๗ ชั้นที่เปิดกรุได้ที่จังหวัดพิษณุโลกและอาจจะนานกว่าสองเท่า คราบปูนที่จับอยู่บนผิวขององค์พระตามธรรมชาตินั้น นอกจากจะมี ผิวธรรมชาติที่คล้ายคลึงกันแล้วผิวปูนตามธรรมชาติจะจับแน่นไม่สามารถหลุดโดยง่ายต้องใช้ ของแข็งขุดจึงจะสามารถเข้าถึงเนื้อได้ นอกจากผิวจะแข็งแกร่งแล้วยังมีสีด้านเหมือนหินปูนธรรมชาติ เหมือนหินปูนในถ้ำ ถ้าเป็นหินปูนที่สร้างเทียมขึ้นจะต้องเป็นลักษณะปูนขาวผสมกาวที่แข็งและจับแน่น แต่ก็จะต้องปรากฏความมันของกาวที่สร้างจากเคมีสังเคราะห์ขึ้นครับ จึงหวังว่าท่านพุทธศาสนิกชนจะได้นิมนต์ไว้เป็นพุทธบูชาต่อไป ผศ.รังสรรค์ ต่อสุวรรณ คัดลอกจากบทความของอาจารย์ รังสรรค์ ต่อสุวรรณ ในหนังสือพระสมเด็จขุนอินทประมูล  
     
โดย : คุณโก๋   [Feedback +1 -0] [+0 -0]   Sun 1, Mar 2009 17:07:25
 








 
ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ท่านจะไม่หาไว้บ้างหรือครับ 
 
โดย : คุณโก๋    [Feedback +1 -0] [+0 -0]   [ 1 ] Sun 1, Mar 2009 17:09:30

 
มีหลายกระแสครับ คุณโก๋
เล่นหาตามสะดวก  แต่หมั่นตรวจสอบให้รอบด้านด้วยนะครับ

เห็นมีบางกระแสบอกบางส่วนจริงแต่เป็นเกจิสร้าง อายุประมาณ 50 ปี
และอีกส่วนอาจเอามาผสมโรง...เป็นพระเลียนแบบสมเด็จหลวงพ่ออยู่วัดดักคะนน นะครับ

ก็ช่วยๆกันหาข้อมูลแล้วกัน

 
โดย : admin    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 2 ] Mon 2, Mar 2009 23:41:52

 

พระวัดขุนอินทประมูล ผมเคยไปเช่าที่วัดครับเมื่อประมาณปี 2541 ตอนไปรับราชการที่จังหวัดอ่างทอง ขณะนั้นเกือบจะหมดแล้ว ได้สอบถาม พระ และคนให้เช่าท่านก็บอกว่าไม่รู้ที่มา คนที่เคยทำงานที่สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดอ่างทอง(รพช.เดิม)มีกันทุกคน ผมก็อยากทราบประวัติความเป็นมาที่ชัดเจนเหมือนกันครับ  แต่ในความเห็นส่วนตัวของผมนะครับ ผมว่าพระเกจิในพื้นที่สร้างมากกว่าครับ 

 
โดย : กริชชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 3 ] Tue 3, Mar 2009 08:09:50





 

ขอบคุณครับ ที่แสดงความเห็น

โดยเฉพาะของวัดดักคะนน ต้องระวัง (ไม่ใช่ของวัดนนี้ไม่ดีนะครับ ดีครับ เพียงแต่จะมาตีเป็นวัดขุนทรอินประมูล ไม่ได้) ดังนั้น ถ้าจะหาไว้บูชา พยายาม หาองค์พระที่มีคราบแคลเซียมเกาะไว้นะครับ ทำให้พิจารณา ง่าย

 
โดย : คุณโก๋    [Feedback +1 -0] [+0 -0]   [ 4 ] Tue 3, Mar 2009 08:53:43

 
@@ แชมป์ของกรุ @@ : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.