พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระเกจิอาจารย์ทั่วไป

พระ ภปร 2508


พระ ภปร 2508


พระ ภปร 2508

   
  วัตถุประสงค์
 วัตถุประสงค์ของการสร้างพระพุทธรูป ภ.ป.ร. วัดบวรนิเวศวิหาร ปี พ.ศ. 2508 เพื่อนำรายได้ได้ทูลเกล้าฯถวายเพื่อบูรณะพระอุโบสถวัดบวรนิเวศฯ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ อันเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่กับพระพุทธชินราช และเป็นพระอารามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ ประทับขณะทรงผนวช ส่วนหนึ่งเพื่อสร้างโรงเรียนขึ้นที่วัดเทวสังฆาราม การญจนบุรี อันเป็นพระอารามที่เริ่มดำริสร้างพระพุทธรูปนี้ขึ้น ส่วนหนึ่งพระราชทานแด่องค์การสาธารณกุศลตามพระราชอัธาศัย
วัตถุมงคลที่จัดสร้าง
การนี้ คณะกรรมการได้กำหนดการหล่อสร้าง แบ่งออกเป็น 3 ขนาดด้วยกัน  และกำหนดราคาการสั่งจองไว้ดังนี้
      1.) พระพุทธรูป ภ.ป.ร. ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว รมดำ 
      2.) พระพุทธรูป ภ.ป.ร. ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว รมดำ 
      3.) พระกริ่ง ภ.ป.ร. สัมฤทธิ์ รมดำ 
และปรากฏว่ามีผู้สั่งจองกันอย่างมากมายเป็นประวัติการณ์ กล่าว คือ ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว มีผู้สั่งจอง 4,247 องค์ ,ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว มีผู้สั่งจองถึง 21,449 องค์  รวมแล้วเป็นจำนวนถึง 25,696 องค์  นับเป็นการสร้างพระพุทธรูปครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา

        ด้วยจำนวนพระที่มากเป็นประวัติการณ์ดังกล่าว ประกอบด้วยการดำเนินงานเป็นไปอย่างล่าช้าไม่ทันใจผู้สั่งจอง เวลา 3 – 4 ปีผ่านไป  ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะได้รับพระพุทธรูปที่สั่งจอง เมื่อผ่านการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2512  สม่าชิกสภาผู้แทนมีการตั้งกระทู้ถามถึงเรื่องการสร้างพระพุทธรูป ภ.ป.ร. นี้
 ฉะนั้นการสร้างจึงมีทยอยออกมาเป็นรุ่น ๆ
       มีการประกอบพิธีพุทธาภิเษกต่างกรรมต่างวาระกันไปพิธีกรรมต่าง ๆ ดังกล่าวมาเบื้อต้นเป็นพิธีกรรมการสร้างในครั้งแรก ซึ่งเป็นการเทหล่อโบราณแบบดินไทย ต่อมาคณะกรรมการมอบให้ กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ สั่งซื้อเครื่องมือหล่อโลหะ ตามกรรมวิธีสมัยใหม่เข้ามาใช้เป็นครั้งแรก เพื่อหล่อสร้างให้เสร็จรวดเร็วทันกับความต้องการของผู้สั่งจอง
 
 การพิจารณา 
        พอสรุปได้ว่าการสร้างพระพุทธรูป ภ.ป.ร. ทั้งสองขนาด
ครั้งแรก  สร้างด้วยวิธีหล่อโบราณแบบดินไทย พลิกดูใต้ฐานจะปรากฏคราบดินไทย และดินทรายหุ่นพระ อัดแน่นอยู่ภายใน โดยมีข้อสังเกตพอเป็นแนวทางดังนี้
       พระพุทธรูป ภ.ป.ร. ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว เนื้อพระจะมีความหนาและปรากฏตะปูยึดพิมพ์ฝังอยู่ในเนื้อภายในใต้ฐานขององค์พระ ปรากฏคราบดินไทย และทราย ที่ขึ้นหุ่นพระ จึงจะเป็นพระยุคแรกที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน หากแตกต่างไปจากนี้ถือเป็นรุ่นหลัง ซึ่งความนิยมจะด้อยกว่า
       พระพุทธรูป ภ.ป.ร. ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว  การสร้างครั้งแรก เป็นหล่อโบราณแบบดินไทย  เช่นเดียวกับขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว ข้อสังเกตเพิ่มเติมคือ จะมีชนวนที่ฐานด้านล่างทั้ง ซ้าย-ขวา และฐานด้านหลังเป็นเนื้อปูดออกมา ซึ่งนั่นก็คือร่องรอยชนวนสำหรับเทโลหะให้ไหลไปตามแม่พิมพ์นิยมเรียกกันว่า สามขา การตอกหมายเลขประจำองค์พระเป็นเลขอารบิคตอกบริเวณผนังฐานด้านใน บริเวณตรงกับพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. จำนวนสี่หลัก หรือ หลักพัน แต่ไม่ทราบจำนวนแน่ชัดว่ากี่พัน ลักษณะพระพักตร์สั้น, พระกรรณยาว, ตัวหนังสือจารึกภาษิตพระราชทานเรียบร้อยสวยงาม กว่ายุคหลัง
 
 การสร้างพระพุทธรูปครั้งต่อมา  รับผิดชอบโดย กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์  ซึ่งได้สั่งซื้อเครื่องมืออันทันสมัยมาใช้ สร้างด้วยหุ่นดินฝรั่ง หรือก็คือปูนขาวนั่นเอง เมื่อล้างทำความสะอาดเอาคราบปูนขาวออกผิวพรรณบริเวณใต้ฐานด้านในจะมีความเรียบร้อยสวยงามและมีลักษณะย่นคล้ายหนังไก่ จึงนิยมเรียก รุ่นหนังไก่
     
     การสร้างเพิ่มโดยกองกษาปณ์นั่ง ครั้งที่ 1  ถึงครั้งที่ 3  มีเลขลำดับบอกครั้งที่สร้างนำหน้า ตามด้วยขีดและหมายเลขประจำองค์พระ เช่น การสร้างเสริมครั้งที่ 1 หมายเลขประจำองค์พระ 789 ก็จะตอกตัวเลขเป็น 1-789 ครั้งที่ 2 และ 3 จะตอกตัวเลขเป็น 2-789, 3-789 ตามลำดับอย่างไรก็ตาม การสร้างเสริมครั้งที่ 1 ถึง 3 ดังกล่าวนั้น หมายเลขประจำองค์พระในแต่ละครั้งจะเป็นตัวเลขเพียงสี่หลักเท่านั้น ไม่เกินกว่านี้ และหลังจากการสร้างเสริมครั้งที่ 3 แล้วก็ไม่ได้ตอกเลขลำดับครั้ง เลขประจำองค์พระอีกเลย
      ในพระบูชาขนาดหน้าตัก 5 นิ้วนั้น รุ่นแรก หรือ รุ่นสามขา ได้รับความนิยมสูงสุด รองลงมาก็จะเป็นสร้างเพิ่มครั้งที่ 1, 2, 3 ตามลำดับที่ไม่ตอกหมายเลขได้รับความนิยมน้อยสุดครับ
 
     
โดย : versace08   [Feedback +1 -0] [+0 -0]   Fri 26, Nov 2010 08:38:03
 
 
พระ ภปร 2508 : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.