มีข่าวเอิ้นบอก
@...เหรียญที่เหมือน หลวงปู่บุญหนา มากที่สุดครับ เนื้อนาบุญแห่งเมืองสกลนคร...@
|
|
|
|
|
|
“หลวงตาบุญหนา ธมฺมทินโน” เป็นพระสายวิปัสสนากัมมัฏฐานที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยชื่อดังรูปหนึ่งแห่งเมืองสกลนคร ที่มีชาวบ้านให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอันมาก โดยเฉพาะความเป็นพระสงฆ์ที่มากด้วยเมตตาธรรม ท่านเป็นหลานแท้ๆ ของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เมื่ออายุ 12 ปี ได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดแจ้ง บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่านเอง ได้ญัตติฝ่ายมหานิกาย ๏ อุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์ ท่านได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์นานถึง 12 ปี ตั้งแต่ครั้งสมัยเป็นสามเณร อาทิเช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ซึ่งเป็นหลวงอาได้นำท่านมาอยู่ด้วย และโดยเฉพาะกับ “พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ” ศิษย์สายธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในช่วงที่เป็นสามเณรอยู่กับพระอาจารย์อ่อน เคยไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เป็นประจำ โดยมีพระอาจารย์อ่อนนำพาไป สาเหตุที่ได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้พระอาจารย์อ่อน ด้วยพระอาจารย์อ่อนเดินธุดงค์มาพำนักหาความสงบวิเวกอยู่ที่บริเวณป่าช้าบ้านหนองโดก (ปัจจุบันคือ วัดป่าโสตถิผลหรือวัดป่าบ้านหนองโดก) ตอนนั้น ได้บรรพชาเป็นสามเณร แต่เป็นฝ่ายมหานิกาย ได้ 4 พรรษา พักอยู่วัดแจ้ง บ้านหนองโดก เป็นวัดบ้านของท่านเอง และไม่ไกลจากป่าช้าที่พระอาจารย์อ่อนไปพักอยู่นั้นมากนัก ประกอบด้วยตัวท่านเองมีความเลื่อมใสการปฏิบัติอยู่แล้ว จึงเป็นโอกาสให้ท่านสนใจไปฟังการอบรมภาวนาและอุปัฏฐากใกล้ชิดกับพระอาจารย์อ่อนตั้งแต่นั้น ภายหลังจึงได้เปลี่ยนเป็นสามเณรฝ่ายธรรมยุต และติดตามพระอาจารย์อ่อนเรื่อยมา ๏ กราบนมัสการพระอาจารย์มั่น ท่านเล่าต่อไปว่า ตอนที่ไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ครั้งแรกไปกับพระอาจารย์อ่อน พร้อมกับสามเณรอีกรูปหนึ่ง (จำชื่อไม่ได้) และญาติโยม 4-5 คน ออกจากวัดป่าบ้านหนองโดกหลังฉันจังหันเสร็จประมาณ 3 โมงเช้า โดยเดินมุ่งหน้าสู่เทือกเขาภูพานที่อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านหนองโดก ผ่านไปทางบ้านโคกกะโหล่งหรือบ้านคำแหวปัจจุบัน แล้วปีนเขาขึ้นสู่ถ้ำน้ำหยาด อันเป็นที่พักแห่งหนึ่งของคนเดิน คณะของท่านก็เดินตามทางนั้นไปเรื่อยๆ ใช้เวลานานพอสมควร จึงไปถึงที่พักของคนเดินทางอีกแห่ง ตรงนั้นเป็นลำห้วยเล็กๆ อยู่ฟากเขาใกล้บ้านหนองผือ น้ำใสเย็นไหลตลอดแนว ชื่อว่าห้วยหมากกล้วย ถึงช่วงนี้พระอาจารย์อ่อนผู้เป็นหัวหน้า จึงพูดขึ้นอย่างเย็นๆ ว่า “เอาล่ะ ถึงที่นี่แล้ว ให้พักผ่อนเอาแฮงสาก่อน...”และพระอาจารย์ก็รับผ้าอาบจากสามเณร เอามาพับครึ่งแล้วปูลงบนพลาญ (ลาน) หิน เสร็จแล้วท่านก็นั่งลงขัดสมาธิหลับตา ซึ่งเป็นการพักเหนื่อยตามวิธีของท่าน สำหรับสามเณรพร้อมญาติโยมที่ไปด้วยต่างแยกย้ายหาที่พักเหนื่อย โดยการหามุมสงบทำสมาธิของแต่ละคนไปตามอัธยาศัย จนตะวันบ่ายคล้อยอากาศเริ่มเย็นสบาย จึงพากันออกจากสมาธิแล้วเตรียมเดินทางต่อไป จนกระทั่งถึงวัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) เวลาประมาณบ่าย 3 โมง พอเข้าไปภายในบริเวณวัด รู้สึกว่าภายในวัดร่มรื่นสงบเงียบ เหมือนกับไม่มีพระเณร แต่ลานวัดสะอาด เห็นแล้วพลอยทำให้จิตใจสงบเย็นไปด้วย ดูสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ภายในวัด จัดเก็บเป็นระเบียบเรียบร้อยดีมาก เดินไปอีกหน่อยหนึ่ง เห็นพระเณรกำลังทำกิจวัตรกวาดลานวัดด้วยไม้ตาด ส่วนพระอาจารย์อ่อน พร้อมคณะ เข้าไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่นบนกุฏิ เสร็จแล้วก็กลับที่พัก ปัดกวาดลานวัด ตักน้ำใช้น้ำฉันจากบ่อน้ำ ซึ่งบ่อน้ำนั้นอยู่ท้ายวัด ตักขึ้นเทใส่ปี๊บ ใช้ผ้าขาวกรองที่ปากปี๊บ เมื่อเต็มแล้ว พระเณรผู้ที่จะหาม 2 รูปใช้ไม้คานหามสอดที่ห่วงปี๊บ ถ้าต้องการหลายปี๊บก็สอดเรียงซ้อนกันมากน้อยตามกำลังสามารถ อย่างมากประมาณ 4 ถึง 6 ปี๊บ ในแต่ละเที่ยว เอาไปเทตามโอ่งที่ล้างบาตรที่ล้างเท้าหน้าศาลาหอฉัน และตามกุฏิพระเณร ห้องถาน (ห้องส้วม) จนกระทั่งเต็มหมดทุกที่ เสร็จจากนั้นก็เตรียมรอสรงน้ำพระอาจารย์มั่นบริเวณหน้ากุฏิท่าน ซึ่งมีพระเตรียมน้ำสรงไว้โดยใช้น้ำร้อนผสมพอให้อุ่นๆ เมื่อพระอาจารย์มั่นเข้ามานั่งบนตั่งแล้ว คราวนี้พระเณรทั้งหลายห้อมล้อม เพื่อเข้าไปถูหลังขัดไคลถวายอย่างเปี่ยมล้นด้วยศรัทธา ส่วนสามเณรบุญหนา (หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินโน) มีโอกาสเข้าไปร่วมสรงน้ำท่านพระอาจารย์มั่นในครั้งนี้ด้วย เนื่องจากสามเณรบุญหนามีรูปร่างเล็ก พอได้แทรกเข้าไปกับพระ ซึ่งส่วนมากมีร่างกายใหญ่โตทั้งนั้น เช่น พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ, พระอาจารย์คำพอง ติสฺโส, พระอาจารย์อ่อนสา สุขกาโร, พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน และอีกหลายๆ ท่านเมื่อพระอาจารย์มั่นเห็นท่านซึ่งเป็นสามเณรมาใหม่ พระอาจารย์มั่นจึงพูดสำเนียงอีสานขึ้นว่า “เณรมาแต่ไส...” เสียงท่านน่าฟังสดับจับใจมาก บ่งบอกถึงความเมตตา แต่สามเณรบุญหนาไม่ทันตอบ มีพระอาจารย์ทองคำตอบแทนว่า “เณรมากับครูบาอ่อน ข้าน้อย” จากนั้นท่านไม่ได้ว่าอะไรต่อไป จนเสร็จจากการสรงน้ำท่านในวันนั้น ซึ่งเหตุการณ์ในวันนั้นเป็นสิ่งที่ท่านประทับใจมาจวบจนกระทั่งทุกวันนี้ สำหรับที่เป็นคติธรรมตามที่ได้เข้าสัมผัสวัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ครั้งสมัยพระอาจารย์มั่นพำนักจำพรรษาอยู่ที่นั่น ได้สังเกตเห็นว่า แม้พระเณรจะมีเป็นจำนวนมาก การทำกิจวัตร เช่น ตักน้ำใช้ น้ำดื่ม กวาดลานวัด ขัดห้องน้ำห้องส้วม ตลอดทั้งล้างกระโถน กาน้ำ กรองน้ำใส่โอ่งไห และทำการงานอื่นๆ จะไม่ปรากฏเสียงพระเณรพูดคุยกันเลย ถึงจะพูดคุยกันก็เพียงกระซิบกระซาบ เห็นแต่อาการปากขมุบขมิบเท่านั้น คนอื่นไม่ได้ยินด้วย นี่เป็นคติธรรมอันหนึ่ง ให้มีสติระมัดระวังตัวไม่ประมาท จึงเกิดอุบายธรรมขึ้นมาว่า เรื่องสติเป็นสิ่งสำคัญมาก สติระลึกรู้ในกาย สติระลึกรู้ในวาจาคำพูด สติระลึกรู้ในใจ เมื่อสติรูซักซ้อมอยู่ภายในกาย วาจา และใจแล้ว ทำ พูด คิด ถูกและผิด ก็ระลึกรู้อยู่ ปรับปรุงอยู่อย่างนี้เสมอ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ได้เล่าเรื่องของ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เทศน์แสดงธรรมสั้นๆ ว่า “กายสุจริตํ วจีสุจริตํ มโนสุจริตํ กายบริสุทธิ์ วาจาบริสุทธิ์ ใจบริสุทธิ์ เอวัง...” แล้วท่านก็เดินลงจากธรรมาสน์ไป หลังจากพักอยู่วัดป่าบ้านหนองผือได้ระยะหนึ่งแล้ว จึงได้ออกเดินธุดงค์ต่อไปกับพระอาจารย์อ่อน เพื่อหาความสงบวิเวกอยู่ใกล้ละแวกนั้น จนกระทั่งทราบข่าวว่าพระอาจารย์มั่นออกจากวัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) แล้วไปพำนักอยู่ที่วัดป่ากลางโนนภู่ ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร สุดท้ายท่านได้มรณภาพลงที่วัดป่าสุทธาวาส ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร สามเณรบุญหนาได้ติดตามไปกับพระอาจารย์อ่อนโดยตลอด และไปพักอยู่ช่วยงานเตรียมเมรุชั่วคราว เพื่อถวายเพลิงศพพระอาจารย์มั่นที่วัดป่าสุทธาวาส จนแล้วเสร็จเรียบร้อยหมดทุกอย่าง จึงออกเที่ยวเดินธุดงค์ต่อไป นอกจากนี้แล้ว ท่านยังได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์อื่นๆ อีก อาทิเช่น พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม พระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม พระอาจารย์ลี ธัมมธโร พระอาจารย์แหวน สุจิณโณ พระอาจารย์สิม พุทธาจาโร และพระอาจารย์จาม มหาปุญโญ เป็นต้น ต่อมา หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินโน ได้มาพำนักจำพรรษาอยู่ ณ วัดวัดป่าโสตถิผล บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ตราบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน นับได้ว่าท่านเป็นพระอริยสงฆ์ที่ควรค่าแก่การกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจอีกรูปหนึ่งที่ยังเหลืออยู่
คัดลอกมาจาก :: หนังสือบูรพาจารย์ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร เรียบเรียงโดย รศ.ดร.ปฐม-รศ.ภัทรา นิคมานนท์ http://www.sakoldham.com |
|
|
|
|
|
|
|
|
จัดสร้าง ชุดใหญ่ 80 ชุด เงิน-หน้าทองคำ 1 เหรียญ เงิน 2 เหรียญ นวะโลหะ-หน้าเงิน 2 เหรียญ นวะโลหะ 5 เหรียญ อัลปาก้า 10 เหรียญ ทองเหลือง 10 เหรียญ ชุดเล็ก 120 ชุด เงิน 1 เหรียญ นวะโลหะ 2 เหรียญ อัลปาก้า 3 เหรียญ ทองเหลือง 3 เหรียญ จัดสร้างโดยชมรมพระเครื่องไทสกล ตอนนี้ยังเป็นแบบตะกั่วลองพิมพ์ด้านอยู่ครับตอนนี้ดำเนินการแก้พิมพ์อยู่นิดหน่อยครับอีกไม่นานจะปิดให้จองครับ พี่น้องชาวสกลนครพลาดแล้วจะเสียใจนะครับเพราะแกะพิมพ์ได้เหมือน หลวงตาบุญหนา มากเลยครับ สั่งจองโทร 0842628295 จอห์น |
|
|
โดย : dekpitlok [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 1 ] Thu 28, Oct 2010 08:04:37
|
|
|
|
|
|