hs.graphicsDir = 'ajax/highslide/graphics/';
hs.outlineType = 'rounded-white';
hs.wrapperClassName = 'draggable-header';
hs.showCredits = false;
var rstr;
rstr=Math.random();
function offComment(commentID,Num,topicID){
if(commentID=="") return;
var conDel;
conDel = confirm("ต้องการปิดข้อคิดเห็น "+Num+" หรือไม่?");
if(conDel==false) return;
window.location = "boardpage.php?topicid="+topicID+"&commentid="+commentID+"&mode=off&var="+rstr;
}
function onComment(commentID,Num,topicID){
if(commentID=="") return;
var conDel;
conDel = confirm("ต้องการเปิดข้อคิดเห็น "+Num+" หรือไม่?");
if(conDel==false) return;
window.location = "boardpage.php?topicid="+topicID+"&commentid="+commentID+"&mode=on&var="+rstr;
}
โชว์พระเกจิอาจารย์ทั่วไป
เสื้อยันต์ วิรุณจำบัง หลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม
เสื้อยันต์วิรุณจำบัง ของหลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม
เสื้อยันต์นี้เดิมเรียกว่า เสื้อแคล้วคลาด แต่นักนิยมเครื่องรางของขลังเรียกว่า"เสื้อยันต์วิรุณจำบัง"เดิมหลวงพ่อคงท่านได้สร้างเสื้อยันต์ชนิดพิเศษให้กับศิษย์ของท่านชื่อว่า แกละเป็นตัวแรก โดยให้นำติดตัวรับใช้ประเทศชาติ ในการเป็นทหารแต่ภายหลังศิษย์ของท่าน ได้กลับกลายเป็นเสือปล้นนามกระฉ่อน แห่งแม่กลอง กล่าวกันว่าเมื่อเข้าปล้นครั้งใดก็ใส่เสื้อยันต์ของหลวงพ่อคงทุกครั้ง ยิงต่อสู้กับเจ้าทรัพย์ลูกปืนแตกราวกับห่าฝน แต่ไม่อาจต้องตัวเขาได้ มีบางครั้งตำรวจรู้แกวยกกำลังมาล้อมตลบหลัง เสือแกละก็กลัดกระดุมเสื้อยันต์เม็ดบนสุด เดินสวนกับตำรวจชนิดจังหน้าผ่าวงล้อมตำรวจ ซึ่งไม่มีสักนายที่จะมองเห็น ต่อมาหลวงพ่อคงรู้สึกเสียใจที่ได้สร้างเสื้อยันต์ให้กับเสือแกละ โดยมิได้ตั้งข้อห้ามหรือให้สัตย์สาบาน จึงเรียกเสือแกละมาพบ และสุดท้ายเสือแกละก็สาบานเลิกปล้นคืนเสื้อยันต์ให้กับหลวงพ่อและกลับตัวเป็นคนดีหายจากแม่กลองไปนับแต่บัดนั้น
เมื่อข่าวอภินิหารเสื้อยันต์หลวงพ่อกระจายกันออกไปบรรดาศิษย์ของท่านจึงเรียกเสื้อยันต์นี้ว่า วิรุณจำบัง วิรุณจำบัง เป็นชื่อของยักษ์ที่เป็นญาติของทศกรรณฐ์ มารบกับพระรามและไม่อาจทานอำนาจของพระรามได้ จึงแปลงตัวเป็นไรน้ำ ไปเกาะอยู่ในฟองคลื่นในมหาสมุทร หนุมานต้องเนรมิตกายแล้วเอาหางกวนมหาสมุทรจับตัววิรุณจำบังสำเร็จโทษในที่สุด ชื่อของวิรุณจำบังจึงเหมาะสมกับเสื้อยันต์ของหลวงพ่อคงเป็นอย่างยิ่ง
กรรมวิธีการสร้างเสื้อยันต์
ครั้นเมื่อหลวงพ่อคงเสร็จเรื่องราวเกี่ยวกับศิษย์ผู้กลายเป็นเสือแล้ว ท่านก็ปรารภกับกรรมการวัดตลอดจนกำนันผู้ใหญ่บ้านว่า จะเลิกสร้างเสื้อยันต์เพราะหากตกอยู่กับมือคนร้ายใจอกุศลแล้วละก็ จะลำบากในการปราบปรามเป็นอันมาก แต่บรรดาคนเหล่านั้นตลอดจนศิษย์รุ่นใหญ่ได้กราบขอร้องว่า หากไม่สร้างแล้วศิษย์รุ่นหลังจะเสียใจ ขอให้ได้เลือกผู้ที่จะประสิทธิ์ให้ก็แล้วกัน หลวงพ่อจึงมีข้อแม้ว่า ใครจะให้ท่านสร้างเสื้อยันต์นี้ให้จะต้องสาบานตนและเข้าพิธีทำสัตย์ปฏิญาณตนกับท่าน ว่าจะไม่เอาไปใช้ในทางที่ไม่ดีหากผิดคำสาบานให้มีอันเป็นไปต่างๆนานา ถึงแก่ความตายด้วยความน่าสะพรึงกลัวเสื้อยันต์วิรุณจำบังจึงได้รับการสร้างสืบต่อมา ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1.ผู้ที่ต้องการเสื้อจะต้องเข้าไปกราบขอกับท่านด้วยตัวเองพร้อมทำพิธีสาบานให้เรียบร้อย ท่านอนุญาตให้แล้วจึงให้ไปทำเสื้อมาให้ท่าน
2.ให้ไปว่าจ้างช่างตัดเสื้อทำเสื้อกั๊กไม่มีแขน เม็ดกระดุม 5 เม็ด ตามขนาดตัวผู้เป็นเจ้าของ ด้านนอกทำด้วยผ้าสีดำ ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นผ้าสักหลาด ส่วนด้านในให้บุซับในด้วยผ้าต่วนสีขาวหรือผ้าขาวให้เรียบร้อย
3.เมื่อได้เสื้อกั๊กมาแล้วก็ให้นำมามอบให้ท่านเพื่อทำพิธีลงเลขยันต์ ท่านจะหาฤกษ์หายามดีตามกรรมวิธีของท่าน กล่าวกันว่าครั้งหนึ่งๆจะมีเสื้อเป็นจำนวนนับสิบๆตัว รอให้หลวงพ่อลง ท่านจะลงด้วยหมึกจีนสีดำ ด้านในเสื้อเป็นอักขระว่า
นะโมพุทธายะ พระเจ้าห้าพระองค์
จะภะกะสะ หัวใจกรณี
อะสังวิสุโลปุสะภุพะ นวหรคุณหรือพระพุทธคุณนามเก้า
กะระมะทะ หัวใจสี่เกลอ
อิติอุนินะมามิหัง หัวใจคุ้มครองป้องกันสารพัด
เสริมด้วยนะปิดล้อม มหาอุดและกำบังตา
การวางยันต์ของท่านสวยงามมากและมีตำแหน่งที่ไม่ค่อยจะคงที่นัก คงจะเนื่องด้วยความสะดวกในการลงของท่านนั่นเอง เมื่อเกิดมหาสงครามโลกครั้งที่สอง เสื้อยันต์ของท่านก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ท่านได้ครอบให้ศิษย์ช่วยกันลงเพื่อความรวดเร็ว และได้เพิ่มยันต์เกราะแก้วว่า พุทธัง เพชรคงคัง อิมังพันธนังอธิษฐานมิ เข้าไปด้วย ท่านบอกว่าเพื่อกันระเบิด
เมื่อท่านลงได้ครบสูตรสำเร็จแล้วจะทำพิธีสอดกระดุมด้วยการกลัดกระดุมจากเม็ดล่างไปหาเม็ดบนภาวนาไปทีละเม็ดๆจนถึงเม็ดบนสุดจึงจะว่า คาถามหากำบังแล้วกลัดกระดุมเข้าที่นำมาปลุกเสกรวมอีกทีหนึ่ง เพื่อป้องกันการสับสนท่านได้ให้เจ้าของเสื้อใช้ดินสอดำเขียนชื่อของตนเอาไว้ด้วย
|