พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระเกจิอาจารย์ล้านนา

ประวัติวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร กับวัตถุมงคล..หลวงปู่ทวด


ประวัติวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร กับวัตถุมงคล..หลวงปู่ทวด


ประวัติวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร กับวัตถุมงคล..หลวงปู่ทวด

   
 

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ ราชกุฏาคาร วัดโชติการาม สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์ลำดับที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัด สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้น่าจะสร้างในปี พ.ศ. 1934 วัดเจดีย์หลวงเป็นพระอารามหลวงแบบโบราณ มีการบูรณะมาหลายสมัย โดยเฉพาะพระเจดีย์ ที่ปัจจุบันมีขนาดความกว้างด้านละ 60 เมตร เป็นองค์พระเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในเชียงใหม่

วัดเจดีย์หลวงสร้างอยู่กลางใจเมืองเชียงใหม่ ซึ่งแต่เดิมถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการปกครองของอาณาจักรล้านนา ตั้งอยู่เลขที่ 103 ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ภายในวัดประมาณ 32 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
วัดเจย์ดีหลวงวรวิหาร

จุลศักราช 289 (พ.ศ. 1874) พระเจ้าแสนภู โปรดให้สร้างเมืองเชียงแสน และต่อมาอีก 4 ปีทรงสร้างมหาวิหารขึ้นในท่ามกลางเมืองเชียงแสน [2] คือวัดเจดีย์หลวงองค์ที่ 1 ซึ่งอยู่ในวัดพระเจ้าตนหลวง เมืองเชียงแสน สมัยพระเจ้าแสนเมืองมาซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้ากือนา ขณะที่มีพระชนมมายุ 39 ปี พระองค์โปรดให้สร้างพระเจดีย์หลวงกลางเมืองเชียงใหม่ แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จดีก็ทรงสวรรคต พระราชินีผู้เป็นอัครมเหสีของพระองค์ ได้โปรดให้ทำยอดพระธาตุเจดีย์หลวงจนแล้วเสร็จ

ปี พ.ศ. 2055 พระราชา (พระเมืองแก้ว) พร้อมด้วยชาวเมืองทั้งหลาย เอาเงินมาทำกำแพงล้อมพระธาตุเจดีย์หลวง 3 ชั้นได้เงิน 254 กิโลกรัม จากนั้นจึงได้เอาเงินมาแลกเป็นทองคำจำนวน 30 กิโลกรัม แล้วแผ่เป็นแผ่นทึบหุ้มองค์พระธาตุเจดีย์หลวง เมื่อรวมกับทองคำที่หุ้มองค์พระเจดีย์หลวงอยู่เดิม ได้น้ำหนักทองคำถึง 2,382.517 กิโลกรัม

ประมาณ พ.ศ. 2088 สมัยพระนางจิระประภามหาเทวี ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเชียงใหม่ จึงทำให้ยอดพระเจดีย์หลวงหักพังทลายลงมา หลังจากนั้นพระเจดีย์หลวงจึงถูกทิ้งให้ร้างมานานกว่า 400 ปี กระทั่งปี พ.ศ. 2423 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ได้รื้อพระวิหารหลังเก่าและสร้างวิหารหลวงขึ้นใหม่ด้วยไม้ทั้งหลัง

ช่วงปี พ.ศ. 2471-2481 สมัยพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย ถือได้ว่าเป็นทศวรรษแห่งการบูรณะครั้งสำคัญของวัดพระเจดีย์หลวง ได้มีการรื้อถอนสิ่งปรักหักพัง แผ้วถางป่าที่ขึ้นปกคุลมโบราณสถานต่างๆ ออก แล้วสร้างเสริมเสนาสนขึ้นใหม่ให้เป็นวัดสมบูรณ์แบบในเวลาต่อมา

พระเจดีย์หลวง ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่โดยกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2533 ใช้งบประมาณในการบูรณะถึง 35 ล้านบาท แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2535

แต่เดิมวัดเจดีย์หลวง ชื่อ “โชติการามวิหาร” แปลว่า พระอารามที่มีแต่ความรุ่งเรืองสว่างไสว เนื่องจากเป็นสถานที่บรรจุพระเกศาธาตุ และพระธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า ในกาลครั้งหนึ่ง เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราช ส่งสมณะทูต 8 รูป ภายใต้การนำพระโสณะ และ พระอุตตะระ เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเขตสุวรรณภูมิ รวมทั้งภูมิภาคนี้ด้วย ได้นำเอาพระบรมธาตุมาบรรจุไว้ในองค์เจดีย์องค์เล็กสูง 3 ศอก ที่สร้างขึ้น ณ บริเวณอันเป็นที่ตั้งของพระธาตุเจดีย์หลวงในปัจจุบัน ในเวลานั้นมีมีชายผู้หนึ่ง อายุ 120 ปี มีใจเลื่อมใส ได้แก้เอาผ้าห่มชุบน้ำมันจุดบูชา และได้ทำนายว่า ต่อไปในภายภาคหน้า ตรงนี้จะเป็นอารามใหญ่ชื่อโชติการาม พวกลัวะทั้งหลายเอาข้าวของบูชาพระธาตุพระพุทธเจ้า จึงก่อเจดีย์หลังหนึ่งสูง 3 ศอกไว้เป็นที่สักการบูชา

นอกจากนี้ยังมีความหมายอีกนัยหนึ่งของคำว่า “โชติการาม” คือ เวลาที่มีการจุดประทีปโคมไฟไปประดับบูชาองค์พระธาตุเจดีย์หลวง จะปรากฏจะปรากฏแสงสีสว่างไสว มองเห็นองค์พระเจดีย์คล้ายเชิงเทียนที่มีเปลวไฟลุกโชติช่วงสว่างไสว ดูแล้วมีความงดงามยิ่งนัก สามารถมองเห็นได้แต่ไกล

ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “วัดเจดีย์หลวง” เนื่องจากในภาษาเหนือ หรือคำเมือง หลวงแปลว่า “ใหญ่” หมายถึง พระธาตุเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่

พระธาตุเจดีย์หลวง

พระธาตุเจดีย์หลวงนั้นถือว่าเป็นพระธาตุที่มีความสูงที่สุดในภาคเหนือ หรือล้านนา คือ สูงประมาณ 80 เมตร เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างประมาณด้านละ 60 เมตร ถูกสร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ถือว่าเป็นเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดของเมืองเชียงใหม่

พระธาตุเจดีย์หลวงนั้นถูกสร้างขึ้นในในรัชสมัยพญาแสนเมืองมา (พ.ศ. 1928 - 1945) กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ซึงเป็นกษัตริย์ที่ปกครองเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น สร้างขึ้นเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้พญากือนา พระราชบิดา ซึ่งมีตำนานเล่ามาว่า พญากือนาซึ่งได้สวรรคตไปแล้ว ได้ปรากฏตัวแก่พ่อค้าชาวเชียงใหม่ที่เดินทางไปค้าขายที่พม่า ให้มาบอกว่าแก่พญาแสนเมืองมาผู้เป็นโอรสว่า ให้สร้างเจดีย์ไว้ท่ามกลางเวียง ให้สูงใหญ่พอให้คนที่อยู่ไกล 2000 วา สามารถมองเห็นได้ แล้วอุทิศบุญกุศลเหล่านนี้ให้แก่พญากือนา เพื่อให้พญากือนานั้นสามารถไปเกิดในเทวโลกได้ แต่พญาแสนเมืองมาเสด็จสวรรคตเสียก่อน พระนางเจ้าติโลกจุฑาราชเทวีผู้เป็นมเหสีได้สืบทอด เจตนารมณ์สร้างต่อ จนเสร็จในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน ใช้เวลาสร้าง 5 ปี

ต่อมาได้มีการปฏิสังขรณ์ในสมัยพญาติโลกราช (พ.ศ. 1984 - 2030) พระองค์โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคต นายช่างใหญ่ทำการปฏิสังขรณ์ โดยมีพระมหาสวามีสัทธัมกิติ เจ้าอาวาสองค์ที่ 7 ของวัดโชติการาม (วัดเจย์หลวง) เป็นกำลังสำคัญในการควบคุมดูแล และประสานงาน การปฏิรูปและก่อสร้างครั้งนี้ได้สร้างขยายเจดีย์ให้ใหญ่กว่าเดิม ใช้เวลาในการก่อสร้าง 3 ปี จึงแล้วเสร็จ

ในสมัยมหาเทวีจิรประภา รัชกาลที่ 15 แห่งราชวงศ์มังราย เกิดพายุฝนตกหนัก แผ่นดินไหว พระมหาเจดีย์หลวงได้พังทลายลงมาเหลือเพียงครึ่งองค์ จากนั้นก็ถูกปล่อยทิ้งร้างไปนานกว่า 4 ศตวรรษ พระมหาเจดีย์หลวงที่เห็นปัจจุบันกรมศิลปกรเพิ่งจะ บูรณปฏิสังขรณ์เสร็จไปเมื่อ พ.ศ. 2535

เจดีย์หลวงตามคติความเชื่อเรื่องจักรวาลวิทยาของชาวลัวะ

คติความเชื่อเรื่องจักรวาลวิทยา ในยุคแรกใช้อินทขีลเป็นสัญลักษณ์สะท้อนความเชื่อดั้งเดิมของชาวลัวะซึ่งได้ผสมผสานกับความเชื่อของพราหมณ์ ในระยะต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาก ได้ใช้พระธาตุเจดีย์หลวงเป็นสัญลักษณ์ของศูนย์กลางจักรวาล คตินี้เห็นได้ชัดจากการสร้างเจดีย์หลวงให้สูงใหญ่ ตั้งอยู่กลางใจกลางเมือง เช่นเดียวกับเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นศูนย์กลางจักรวาล

ปัจจุบันบริเวณวัดเจดีย์หลวงกลางเมืองเชียงใหม่ มีสิ่งสักกาละหลากหลายได้แก่ เจดีย์หลวง อินทขีล ต้นยาง กุมภัณฑ์ พระฤๅษี ซึ่งสะท้อนพัฒนาการคติจักรวาลได้ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่แวดล้อมของเมือง

คติเจดีย์หลวงในฐานะศูนย์กลางจักรวาล ปรากฏในคัมภีร์มหาทักษาเมือง กล่าวถึง การสร้างวัดสำคัญในเมืองเชียงใหม่ 9 แห่ง โดยกำหนดให้สอดคล้องกับชัยภูมิ และความเชื่อเรื่องทิศทั้ง 4 และทิศเฉียงอีก 4 เป็น 8 เมื่อทิศทั้ง 8 มาบรรจบกัน เกิดจุดศูนย์กลางรวมกันเป็น 9 ถือเป็นเลขมงคล ตำแหน่งจุดศูนย์กลางเมือง เป็นสะดือเมือง กำหนดให้เป็นเกตุเมืองตรงกับวัดเจดีย์หลวง วัดทั้ง 8 แห่งที่สร้างตามทักษาเมือง คือ[3]

บริวารเมือง ทิศตะวันตก (ทิศปัจฉิม) วัดสวนดอก
อายุเมือง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (ทิศพายัพ) วัดเจ็ดยอด
เดชเมือง ทิศเหนือ (ทิศอุดร) วัดเชียงยืน
ศรีเมือง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ทิศอีสาน) วัดชัยศรีภูมิ
มูลเมือง ทิศวะวันออก (ทิศบูรพา) วัดบุพพาราม
อุตสาหเมือง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ (ทิศอาคเนย์) วัดชัยมงคล
มนตรีเมือง ทิศใต้ (ทิศทักษิณ) วัดนันทาราม
กาลกิณีเมือง ทิศตะวันตกเฉียงใต้ (ทิศหรดี) วัดตโปทาราม

ช้างรอบพระธาตุเจดีย์หลวง

มหาเจดีย์หลวงที่พระนางเจ้าติโลกจุฑาราชเทวีทรงก่อสร้างนั้น พระนางทรงให้ยกฉัตรยอดมหาเจดีย์ แล้วปิดด้วยทองคำ พร้อมทั้งเอาแก้ว 3 ลูก ใส่ยอดมหาเจดีย์นั้นไว้ ประดับด้วยโขงประตูทั้ง 4 ด้าน มี พระพุทธรูปปูนปั้นประทับนั่งในโขงทั้ง 4 ด้าน มีรูป พญานาคปั้นเต็มตัว 8 ตัว ตัวละ 5 หัว อยู่ใน 2 ข้างบันได รูปปั้นราชสีห์ 4 ตัว ตั้งอยู่ตรงสี่มุมของมหาเจดีย์ มีรูปปั้นช้างค้ำรายล้อมรอบองค์เจดีย์หลวงนั้นมี 28 เชือก แต่ในประวัติศาสตร์มีเพียง 8 เชือกเท่านั้น ที่มีการตั้งชื่อให้เฉพาะ ซึ่งชื่อช้าง 8 เชือกที่ล้อมเจดีย์หลวง นับจากนับตามลำดับตั้งแต่ตัวที่อยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ทิศอีสาน) เวียนมาตามทอศตะวันออก มีดังนี้ [4]

ตัวที่ 1 เมฆบังวัน ตัวที่ 2 ข่มพลแสน
ตัวที่ 3 ดาบแสนด้าม ตัวที่ 4 หอกแสนลำ
ตัวที่ 5 ก๋องแสนแหล้ง ตัวที่ 6 หน้าไม้แสนเปียง
ตัวที่ 7 แสนเขื่อนก๊าน ตัวที่ 8 ไฟแสนเต๋า

การสร้างรูปปั้นช้างนั้น เป็นการส่งเสริมกำลังเมืองในทางด้านไสยศาสตร์เพื่อให้เมืองมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีพิธีการสักการบูชาพญาช้างทั้ง 8 เชือก เพราะเชื่อว่า จะทำให้เกิดสวัสดิมงคล นำความสงบสุขมาสู่บ้านเมือง ศัตรูไม่กล้ามารุกรานย่ำยีเมืองได้ เพราะชื่อพญาช้างที่ตั้งขึ้นนั้น เป็นพลังอำนาจก่อเกิดเดชานุภาพ อิทธิฤทธิ์ ข่มขู่บดบัง ขวางกั้น กำจัด ปราบปรามอริราชศัตรูที่จะมารุกราน ให้แพ้ภัยแตกพ่ายหนีไปเอง ซึ่งแต่ละชื่อมีความหมายดังนี้ [5]

  1. เมื่อศัตรูยกพลเสนามารุกราน ล่วงล้ำเข้ามาในเขตพระราชอาณาจักร จะเกิดอาเพศ ท้องฟ้ามืดมิดด้วยเมฆหมอกปกคลุม ธรรมชาติวิปริตแปรปรวน น่ากลังยิ่งนัก ทำให้ผู้รุกราหวาดผวาภัยพิบัติ ตกใจกลัวแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “เมฆบังวัน”
  2. เมื่อผู้รุกรานยกทัพเข้ามาใกล้ แม้จะมีพลโยธาทหารกล้าเรือนแสน ก็จะเกิดอาการมึนเมาลืมหลง ไม่อาจครองสติยับยั้งอยู่ได้ ต้องระส่ำระส่าย แตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ข่มพลแสน”
  3. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามา แม้จะมีกำลังพลมากมาย มีศาตรา มีด พร้า ด้ามคมเป็นแสนๆเล่ม ก็ไม่อาจเข้าใกล้ทำร้ายได้ มีแต่จะเกิดหวาดหวั่นขาดกลัวแตกหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ดาบแสนด้าม”
  4. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามารานรบ แม้จะมีกำลังพลกล้าหาญมากมาย มีศาสตราอันคมยาว หอกแหลนหลาวเป็นแสน ก็ไม่อาจเข้ามาราวีได้ จึงต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “หอกแสนลำ”
  5. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามา แม้จะมีกำลังพลจำนวนมาก มีอาวุธปืนเป็นแสนกระบอก ก็ไม่สามารถทำอันตรายได้ ต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ปืนแสนแหล้ง”
  6. เมื่อผู้รุกรานบุกรุกเข้ามา แม้จะมีกำลังพลมากมาย มีหน้าไม้คันธนูเป็นแสนๆ ไม่สามารถทำอันตรายได้ ต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “หน้าไม้แสนเกี๋ยง”
  7. เมื่อข้าศึกอาจหาญล้ำแดนเข้ามา แม้ด้วยกำลังพลหัตถีนึก กองทัพช้างมีเป็นแสนเชือก ก็ไม่อาจหักหาญเข้ามาได้ มีแต่จะอลม่านแตกตื่นแกหนีไปสิ้น จึงได้ชื่อว่า “แสนเขื่อนกั้น” (บางแห่งเป็น แสนเขื่อนก๊าน)
  8. เมื่อข้าศึกเข้ามาหมายย่ำยี ก็จะเกิดอาการร้อนเร่าเหมือนเพลิงเผาผลาญรอบด้าน เลยแตกพ่ายหนีไปด้วยความทุกข์ทรมาน จึงได้ชื่อว่า “ไฟแสนเต๋า”

สรุปประวัติพระเจดีย์หลวง

- พระเจดีย์หลวงสร้างขึ้นในรัชสมัยของพญาแสนเมืองมา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้พญากือนา พระราชบิดา แต่สร้างไม่เสร็จ ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน

- ต่อมาพระนางเจ้าติโลกจุฑาราชเทวี พระมเหสีของพญาเมืองมา ก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน เรียกกันว่า “กู่หลวง”

- พญาติโลกราช โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคตเป็นนายช่างใหญ่ดำเนินการปฏิสังขรณ์รพระเจดีย์หลวง ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2021

- ในรัชสมัยพระเจ้ายอดเชียงรายได้ปิดทองภายในซุ้มจรนัมของพระเจดีย์ หลวงทั้ง 4 ด้าน

- ในรัชสมัยพระเจ้าเมืองแก้ว เมื่อ พ.ศ. 2046 ได้โปรดให้สร้างหอพระแก้ว และอัญเชิญพระแก้วมรกตลงมาประดิษฐาน สร้างมหาวิหาร ส่วนการบูรณะพระเจดีย์หลวงได้ดำเนินการเพียงเล็กน้อย

- ในที่สุดเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ในปีพ.ศ. 2088 ในรัชสมัยพระนางเจ้ามหาเทวีจิรประภา ยอดพระเจดีย์หลวงก็พังทลายลงมา เหลือให้เห็นดังสภาพปัจจุบัน (ก่อนการบูรณะของกรมศิลปกร)

ที่มา : วิกิพีเดีย

 

เสาอินทขิล หรือเสาหลักเมือง

เครื่องสังเวยพลีกรรม หรือเครื่องบูชาเสาอินทขิล
ได้แก่ ขันตั้ง ๑๒ ขัน ขันประธาน ๑ ขัน ขันบริวาร ๑๑ ขัน

คำบูชาเสาอินทขิล
"อินทะขีลัง สิทธิชัยยะ อินทะขีลัง สิทธิชัยยะ
อินทะขีลัง มังคะลัตถิ อินทะขีลัง โสตถิมังคะลัง"

พระวิหารหลวง

ปล.    น้อยนัก....ที่จะมีวัตถุมงคล ที่สร้างโดยวัดเจดีย์หลวงแห่งนี้  แต่ก็ได้มีวัตถุมงคล คือพระผงหลวงปู่ทวด ที่ทราบแต่เพียงว่าสร้าง ณ วัดเจดีย์หลวง แต่ก็ไม่มีประวัติการสร้างแน่ชัด  ดังนั้นไหนๆ ก็ได้ศึกษาประวัติวัดเจดีย์หลวงกันแล้ว ก็เลยถือโอกาศ ลงวัตถุมงคล นี้เลย เพื่อว่าใครจะมีประวัติที่แน่นอนจะได้แลกเปลี่ยนความรู้กันนะครับ....ด้วยจิตคารวะ

 
     
โดย : พระช้างเผือก   [Feedback +37 -0] [+0 -0]   Wed 21, Oct 2009 17:27:32
 




 

ปล.    น้อยนัก....ที่จะมีวัตถุมงคล ที่สร้างโดยวัดเจดีย์หลวงแห่งนี้  แต่ก็ได้มีวัตถุมงคล คือพระผงหลวงปู่ทวด ที่ทราบแต่เพียงว่าสร้าง ณ วัดเจดีย์หลวง แต่ก็ไม่มีประวัติการสร้างแน่ชัด  ดังนั้นไหนๆ ก็ได้ศึกษาประวัติวัดเจดีย์หลวงกันแล้ว ก็เลยถือโอกาศ ลงวัตถุมงคล นี้เลย เพื่อว่าใครจะมีประวัติที่แน่นอนจะได้แลกเปลี่ยนความรู้กันนะครับ....ด้วยจิตคารวะ

จุดสังเกตุ  เท่าที่เห็น จะมีอยู่ 2 เนื้อ  ถ้านำทั้งสองมาดูแล้วพลิกกลับหลัง จะเห็นว่า ยันต์ ตัวเมือง จะกลับด้านกัน ระหว่างสีขาว กับ สีดำ นี้เป็น ปริศนา อะไรหรือป่าว ท่านใด ไขรหัสนี้ได้ ช่วยบอกทีครับ หากท่านได้ส่องดูเนื้อพระแล้ว เนื้อจะ หยุ่ยๆ เหมือนเนื้อพระผงของ ครูบาจันต๊ะ ครับ

แต่เท่าที่ พบเห็นในสนาม ไม่เคยเห็น องค์สีขาวเรย แล้วก็ไม่มี ยัตน์ ...รร... ด้วย   ที่สำคัญ องค์สีขาวมีฝังเม็ดทับทิม สีแดง ด้วยครับ  เหมือน พระปิดตาของครูบาจันต๊ะเรย

 
โดย : พระช้างเผือก    [Feedback +37 -0] [+0 -0]   [ 1 ] Wed 21, Oct 2009 17:36:36









 

เพิ่มเติม อีกนิดนะครับ ไปเห็น ยันต์ ก็เหมือนกับยันต์  พระผงยันต์ครอบจักรวาล ครูบาจันต๊ะ อีกละ ลองชมครับ

 
โดย : พระช้างเผือก    [Feedback +37 -0] [+0 -0]   [ 2 ] Wed 21, Oct 2009 18:32:02

 
 
โดย : ทรัพย์ไมตรี    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 3 ] Wed 21, Oct 2009 20:35:50

 
สวย ขอบคุณข้อมูลดีนะครับ
 
โดย : เจ็ดยอด    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 4 ] Wed 21, Oct 2009 21:26:01

 
  ข้อมูลเยี่ยมครับ ได้ความรู้อีกเยอะเลยครับ...
 
โดย : bongmaerim    [Feedback +29 -0] [+0 -0]   [ 5 ] Wed 21, Oct 2009 22:09:19

 
ข้อมูลเยี่ยมครับ
 
โดย : น้อย ไอยรา    [Feedback +28 -1] [+0 -0]   [ 6 ] Thu 22, Oct 2009 01:33:12

 
ข้อมูลสุดยอดครับ.. 
 
โดย : Dear shop    [Feedback +1 -0] [+0 -0]   [ 7 ] Thu 22, Oct 2009 02:26:51





 

 
โดย : พรหมาจักรโก    [Feedback +26 -0] [+0 -0]   [ 8 ] Thu 22, Oct 2009 08:14:29

 

กราบขอบพระคุณ   พี่ทรัพย์ไมตรี ,   ท่านพี่เจ็ดยอด ,   ท่านพี่บง สุดหล่อ ,  อาจารย์ น้อย ,  ท่านพี่Dear shop และ  คุณพี่พรหมาจักรโก  ที่เป็นกำลังใจให้กับน้องเสมอมา  (ชึ้งๆ)

ว่าแต่ ไม่มีใครรู้ ประวัติการสร้าง พระผงหลวงปู่ทวด นี้เรยกา!!!!!

 
โดย : พระช้างเผือก    [Feedback +37 -0] [+0 -0]   [ 9 ] Thu 22, Oct 2009 09:34:33

 
 
โดย : กันต์ห้าแยก    [Feedback +21 -0] [+1 -0]   [ 10 ] Thu 22, Oct 2009 11:35:00





 

แหมๆๆๆ  มาด้วยเหรอครับเนี้ยน้องฟันกัน ขอบคุณที่มาเยี่ยมชมนะค๊าฟฟ   ถ้าว่างๆ  จะไปขอดู นวะ องค์ว่าที่แชมป์ หน่อยนะค๊าฟฟฟ

 
โดย : พระช้างเผือก    [Feedback +37 -0] [+0 -0]   [ 11 ] Thu 22, Oct 2009 12:41:01

 

ผู้สร้างพระผงลป.ทวดนี้คือนายเมี้ยน เปียผ่อง ผู้สร้างพระผงคบ.จันต๊ะอันลือลั่นนั้นเอง พระรุ่นนี้จัดสร้างให้วัดเจดีย์หลวงรุ่นพระเจ้าทันใจ อนึ่งตัวนายเมี้ยนเองนี้ก็ได้เคยสร้างพระผงอินทขิลให้วัดเจดีย์หลวงนี้ไว้3รุ่น ไม่แค่นั้นนายเมี้ยนก็ยังเคยสร้างพระให้ คบ.ดวงดี วัดท่าจำปีด้วย พระผงลป.ทวดรุ่นที่ถามมานี้ครั้งหนึ่งเคยมีคนยัดให้เป็นของคบ.จันต๊ะมาแล้วแต่ความจริงย่อมหนีความจริงไปไม่พ้นเพราะตัวผู้สร้างเขายังอยู่และได้ออกมาปฏิเสธกันไปแล้ว ข้อมูลที่บอกมาทั้งหมดได้มาจากตัวนายเมี้ยนเองรับรองไม่มีนั่งเทียนเขียนแน่นอนครับ

 
โดย : แหร่มจริง    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 12 ] Fri 23, Oct 2009 12:08:47

 

เอาแต้เน้อน้องเฮา.....อิอิ

 
โดย : weerapun    [Feedback +30 -0] [+4 -1]   [ 13 ] Fri 23, Oct 2009 17:31:28

 

สุดยอดครับละแล้วเราก็ได้รู้คำตอบ  ขอบพระคุณพี่แหร่มจริง  ที่ทำให้เราได้ทราบประวัติการสร้าง พระผงหลวงปู่ทวดนี้ ขอบพระคุณครับ 

ปล. เดียวสอบเสร็จจะไปแอ็ฃ๋วหาเน้อพี่ต๋อย

 
โดย : พระช้างเผือก    [Feedback +37 -0] [+0 -0]   [ 14 ] Fri 23, Oct 2009 19:44:57

 
ประวัติวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร กับวัตถุมงคล..หลวงปู่ทวด : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.